ผลการรักษา Long Gap Esophageal Atresia: 5 – Year Follow up

Main Article Content

ดวงตา อ่อนสุวรรณ

บทคัดย่อ

ที่มาของรายงาน: Esophageal atresia และ tracheoesophageal fistula เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดที่พบได้ไม่บ่อย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีส่วนน้อยที่ esophagus ส่วนต้น และส่วนปลายอยู่ห่างกันมาก (long gap) ไม่อาจทำ primary anastomosis ได้ การผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้มีหลายวิธี แต่ละวิธีมีความยากและข้อดีข้อเสียต่างกันไป นอกจากความยากของวิธีผ่าตัดแล้ว ผลการรักษาที่มีต่อคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วยและครอบครัว ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เป็นสิ่งที่ควรนำมาประกอบการตัดสินใจวางแผนการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย วัตถุประสงค์: เพื่อแสดงผลการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งใช้วิธีผ่าตัดต่างกัน และเสนอเทคนิคการผ่าตัดเพื่อวางแผนแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เพื่อลดการผ่าตัดซ้ำ ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาและติดตามผลการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ จำนวน 8 ราย ซึ่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2545 ผู้ป่วย 3 ราย ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธี Livaditis, 1 ราย ด้วยวิธี gastric tube และ 4 รายด้วยวิธี colon interposition ระยะเวลาติดตามผลการรักษาตั้งแต่ 5-7 ปี ประเมินผลการรักษาโดยสัมภาษณ์ ผู้ป่วยและผู้ดูแลโดยตรง และจากบันทึกการตรวจของแพทย์ในแฟ้มประวัติผู้ป่วยแสดงผลการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายในเรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร คุณภาพชีวิตทางด้านจิตใจ สังคม และการดูแลที่บ้าน จัดระดับผลการประเมินเป็น 3 ระดับ คือ ดี ปานกลาง และไม่ดี โดยให้คะแนนตามความรุนแรงของอาการทางระบบทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และคุณภาพชีวิต ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทุกรายหายเป็นปกติภายใน 5 ปีหลังผ่าตัด กลุ่มที่ผ่าตัดด้วยวิธี colon interposition มีอาการเด่นในระบบทางเดินอาหาร คือ กลืนลำบาก ขย้อน อาเจียน และอุจจาระร่วง ใช้เทคนิคการคาสาย nylon ไว้ในหลอดอาหารและกระเพาะอาหารผู้ป่วยเพื่อเป็น guide ในการขยายหลอดอาหารและให้ผลการรักษาที่ดี กลุ่มที่ผ่าตัดด้วยวิธี Livaditis มีอาการเช่นเดียวกันแต่ปรากฏชัดเจนใน 2 ปีหลังผ่าตัด ตามพยาธิสภาพและชนิดอาหารที่กิน ผู้ป่วยที่ผ่าตัดใช้ gastric tube conduit มีอาการเช่นเดียวกัน และมีอาการของ pressure effect ด้วย ผู้ป่วยทุกกลุ่มมีอาการในระบบทางเดินหายใจเหมือนกัน คือ bronchitis และ pneumonia ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล อาการอื่นคือ ไอ หายใจตื้น และหายใจเสียงดัง คุณภาพชีวิตของทุกรายอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจและเป็นปกติในปีที่ 5 หลังผ่าตัด สรุป: การรักษาผู้ป่วย long gap esophagealกษาผู้ป่วย สนืนปกติในปีที่ 5  atresia เป็นงานที่ท้าทาย จากการประเมินผลการรักษาในระยะยาวแสดงว่าการวางแผนการรักษาที่ดีและเลือกวิธีผ่าตัดที่เหมาะสม จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งต่อผู้ป่วยและครอบครัว


 

Article Details

How to Cite
อ่อนสุวรรณ ด. (2024). ผลการรักษา Long Gap Esophageal Atresia: 5 – Year Follow up. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 26(2), 75–82. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2161
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Myers NA, Eoin A. The esophagus. In: Mark MR, Kenneth. JW,Clifford DB, Eoin A, Judson GR, editors. Pediatric surgery.Chicago: Year Book Medical Publisher; 1979.p.461-6.

Miller FJW, Court, et al.Growing up in Newcastle Upon Tine. London: Oxford University Press; 1960.

Dudley NE, Phelan PD. Respiratory complications in long term survival of esophageal atresia. Arch Dis Child 1976; 51:279.

Eero S, Outi T, Tarja R, ct al. Outcome of patients operated on for esophageal atresia: 30 years' experience. J Pediatr Surg 1998;33:1341-6.

Ure BM, Slany E, Eypasch EP, et al. Quality of life more than 20 years after repair ofesophageal atresia. Pediatr Surg 1998;33:51-5.

Ahmed A, Spitz L. The outcome of colonic replacement of the esophagus in children. Prog Pediatr Surg 1956,19:37-54.

Cheteuti P, Phelan PD. Gastrointestinal morbidity and growth after repair of esophageal atresia and tracheoeso-phageal fistula. Arch Dis Child 1993;68:163-6.