ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนจากการส่องตรวจด้วยกล้อง 972 ราย ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ปี พ.ศ. 2540-2541

Main Article Content

สมชาย เหลืองจารุ
ชวนพิศ สุทธินนท์
สุนทร ชินประสาทศักดิ์
สุนทร ไทยสมัคร

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนเป็นปัญหาที่พบบ่อยในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และเป็นภาวะฉุกเฉินเนื่องจากอาจมีอันตรายถึงชีวิตหากได้รับการดูแลรักษาไม่ทันท่วงที การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบนถือเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ รวมทั้งช่วยในการรักษาได้ด้วย วัตถุประสงค์: เพื่อรายงานถึงลักษณะผู้ป่วย ผลการส่องกล้องตรวจและการรักษาผ่านกล้องส่องตรวจในภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาย้อนหลังข้อมูลผู้ป่วยที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ปี พ.ศ. 2540-2541 ในผู้ป่วยที่มารับการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน ด้วยข้อบ่งชี้เนื่องจากภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยที่มารับการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน ด้วยข้อบ่งชี้ดังกล่าว จำนวน 972 ราย เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงในอัตราส่วน 2.4 : 1 และมักพบในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาด้วยอาการอาเจียนเป็นเลือดและถ่ายดำ โดยมีปัจจัยเสี่ยงร้อยละ 40.3 และปัจจัยเสี่ยง 3 ลำดับแรกได้แก่ การดื่มสุรา การรับประทานยาต้านการอักเสบ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs) และการดื่มสุราร่วมกับการรับประทานยาต้านการอักเสบ คิดเป็นร้อยละ 22.7, 6.2 และ 4.6 ตามลำดับ ในระยะแรกรับผู้ป่วยส่วนใหญ่มีปัญหาโลหิตจางเนื่องจากการเสียเลือดปริมาณมาก จากการส่องกล้องตรวจพบว่าสาเหตุของภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนที่พบบ่อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ แผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ และการแตกของเส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร โดยพบร้อยละ 32.9, 31.5 และ 16.2 ตามลำดับ ในกรณีที่ไม่สามารถสรุปได้ว่าเลือดออกจากสาเหตุใด พบเพียงร้อยละ 5.7 แผลในกระเพาะอาหารที่พบมีจำนวนเฉลี่ย 1.5+1.0 แผล ขนาดเฉลี่ยของแผล 2.1+1.8 เซนติเมตร ส่วนใหญ่เป็นแผลสะอาด (clean base) ร้อยละ 79.9 ตำแหน่งของแผลที่พบส่วนใหญ่บริเวณ antrum (พบบ่อยที่ prepylorus) และ body (พบบ่อยที่ lesser curve) โดยพบได้ร้อยละ 42.3 และ 36.6 ตามลำดับ การแตกของเส้นเลือดขอดในหลอดอาหารพบในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับรายงานอื่น แผลในลำไส้เล็กพบได้น้อยโดยมีจำนวนเฉลี่ย 1.1+0.4 แผล ขนาดเฉลี่ยของแผล 1.4+0.8 เซนติเมตร ส่วนใหญ่เป็นแผลสะอาด ร้อยละ 77.2 ตำแหน่งของแผลที่พบทั้งหมดอยู่ในลำไส้เล็กดูโอดีนัมส่วนแรก สรุป: การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบนเป็นการตรวจที่จำเป็นในการหาสาเหตุของผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน

Article Details

How to Cite
เหลืองจารุ ส., สุทธินนท์ ช., ชินประสาทศักดิ์ ส., & ไทยสมัคร ส. (2024). ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนจากการส่องตรวจด้วยกล้อง 972 ราย ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ปี พ.ศ. 2540-2541. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 26(2), 91–98. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2163
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Laine L. Acute and chronic gastrointesinal bleeding, In: Feldman M, Scharschmidt BF, Sleisenger MH, editors. Sleisenger & Fordtran's gastrointestinal and liver discase, pathophysiology/diagnosis/management. 6th ed. Philadelphia: WB Saunders; 1998. p. 198-219.

Laine L.Gastrointestinal bleeding In: Braunwald E, Hauser SL, Fauci AS, et al, editors. Harrison's principle of intermal medicine. 15th ed. New York: McGraw-Hill; 2001 p.2524.

Elta GH. Approach to the patient with gross gastrointestinal bleeding. In: Yamada T, Alpers DH, Laine L, et alitors. Textbook of gastroenterology. 3rd ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 1999. p. 714-43.

Jiranek GC, Kozarek RA. A cost-effective approach to the patient with peptic ulcer bleeding. Surg Clin North Am 1996;76:83-103.

Lee JG, Turnipseed S, Romano PS, et al. Endoscopy-based triage significantly reduces hospitalization rates and costs of treating upper GI bleeding: a randomized controlled trial. Gastrointest Endosc 19999;50:755-61.

Zuccaro GJ.Bleeding peptic ulcer pathogenesis and endoscopic therapy. Gastroenterol Clin North Am 1993;22:737-50.

Sharara AI, Rockey DC.Gastroesophageal variceal hemorrhage. N Engl J Med 2001;345:669-80.

Freeman ML. Stigmata of hemorrhage in bleeding ulcers. Gastrointest Endosc Clin North Am 1997:7:559-74.

กลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร สมาคมแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. สาเหตุของภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนของประเทศไทย (รอตีพิมพ์).

ชวนพิศ ธรรมาณิชานนท์, สุนทร ไทยสมัคร. การตกเลือดในระบบทางเดินอาหารส่วนบนใน ร.พ.มหาราชนครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2527;8:109-20.

Saowaros V, Udayachalerm W, Wee-Sakul B, Tienpaitoon V.Causes of uppergastrointestinal bleeding in Thai patients: review of 5,000 upper gastrointestinal endoscopy. J Med Assoc Thai 1994;77:561-5.