ผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ในคลินิกศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Main Article Content

ปริญญา สันติชาติงาม

บทคัดย่อ

บทนำ โรคเอดส์เป็นกลุ่มอาการของโรคที่ติดเชื้อชนิดอื่น ๆ ได้ง่าย แนวโน้มอัตราป่วยของผู้ป่วยโรคเอดส์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ และผู้ติดเชื้อเอดส์มี anorectal disease ร้อยละ 5 – 35 วัตถุประสงค์ เพื่อเสนอผลทางคลินิกของผู้ติดเชื้อเอดส์ในคลินิกศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ผู้ป่วยและวิธีการ ผู้ป่วยนอกที่มารับการรักษาที่หน่วยศัลยกรรมลำไส้และทวารหนัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2545 รวมระยะเวลา 1 ปี โดยศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วย เก็บข้อมูลทั่วไป ระยะของการติดเชื้อเอดส์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาที่ได้รับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ จำนวน ร้อยละ mean และ SD ผลการศึกษา ข้อมูลครบถ้วน ร้อยละ 94.1 (80 ราย) ส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.8 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 36.1 ปี ร้อยละ 85 มีอาชีพรับจ้าง และพบการติดเชื้อร้อยละ 66.3 เป็นระยะเอดส์ หากวิเคราะห์จำแนกการรักษาตามชนิดของการวินิจฉัย โรคพบโรคริดสีดวงทวาร ร้อยละ 32.5 การรักษาโรคริดสีดวงทวารของผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ที่ไม่มีอาการ ให้การรักษาเหมือนผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ โรค condyloma acuminate พบร้อยละ 17.5 โดยมีจำนวนครั้งของการผ่าตัดเพื่อรักษา 1-13 ครั้ง (เฉลี่ย 5 ครั้ง) ผู้ป่วยชาย 2 ใน 10 ราย พบรอยโรคบริเวณ penis ร่วมด้วย ผู้ป่วยหญิง 3 ใน 4 ราย พบรอยโรค บริเวณ vagina ร่วมด้วยและพบว่าในผู้ป่วยระยะเอดส์ต้องใช้จำนวนครั้งของการรักษามากกว่าผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ที่ไม่มีอาการ โรคแผลบริเวณทวารหนักพบเป็น herpetic ulcer ร้อยละ 16.3 โรค anal fissure พบร้อยละ 8.7 การศึกษานี้มักพบเป็น atypical anal fissure โรค fistula in ano พบร้อยละ 11.2 โดยมีสาเหตุจากเชื้อวัณโรค ซึ่งพบได้ถึง 1 ใน 3 ของผู้ป่วย ส่วนโรคอื่น ๆ ที่พบในการศึกษานี้ คือ proctitis, anal skin tag, anal abscess, radiation proctitis, CA rectum, squamous cell CA of anus, lymphoma of anus, TB colitis, และ rectovaginal fistula ข้อมูลจากการศึกษาทางคลินิกนี้คงเป็นตัวอย่างในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ในคลินิกศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก สรุป ข้อพิจารณาในการรักษาขึ้นกับระยะการติดเชื้อเอดส์ โดยในกรณีผู้ติดเชื้อเอดส์ที่ไม่มีอาการ ให้เลือกการรักษาเหมือนผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ ส่วนกรณีผู้ป่วยระยะเอดส์วิธีการรักษาต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป มีข้อระมัดระวังในการรักษาโรค condyloma acuminate ในการตรวจรอยโรคร่วมบริเวณอื่น และ fistula in ano โดยมีสาเหตุจากการติดเชื้อวัณโรคซึ่งพบได้ถึง 1 ใน 3 ของผู้ป่วย

Article Details

How to Cite
สันติชาติงาม ป. (2024). ผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ในคลินิกศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 26(3), 123–130. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2168
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Wexner SD, Smithy WB, Milsom JW, Dailey TH. The surgical manangement of anorectal discases in AIDS and preAIDS patients. Dis Colon Rectum 1986; 29: 719-23.

Scholefield JH, Northover JM, Carr ND. Male homosexuality, HIV infection and colorectal surgery. Br J Surg 1990;77:493-6.

Miles AJ, Mellor CH,Gazzard B, Allen-Mersh TG, Wastell C. Surgical manangement of anorectal disease in HIV-positive homosexuals. Br J Surg 1990;77:869-71.

Schmitt SL, Wexner SD, Nogueras JJ, Jagelman DG. Is aggressive manangement of perianal ulcers in homosexual HIV-scropositive man justified? Dis Colon Rectum 1993; 36:240-6.

Safavi A, Gottesman L. Dailcy TH. Anorectal surgery in The HIV+ patient: update. Dis Colon Rectum 1991;34:299-304

Nadal SR, Manzione CR, Galvao VM, Salim VRBM, Speranzini MB. Perianal disease in HIV-positive patients compared with a seronegative population. Dis Colon Rectum 1999; 42: 649-54.

Yuhan R, Orsay C, Delpino A, et al. Anorectal disease in HIV- infected patients. Dis Colon Rectum 1998;41367-70.

Heweitt WR, Sokol TP, Fleshner PR. Should HIV status alter indications for hemorhoidectomy? Dis Colon Rectum 1996;39:615-8.

Morandi E, Merlini D, Salvaggio A, Foschi D, Trabucchi E. Prospective study of healing time after hemorrhoidectomy, influence of Hily infection, acquired immunodeticiency syndrome, and anal wound infection. Dis Colon Rectum 1999;42:1140-3.

Scaglia M, Delaini G, Destefano I, Hulten L. Injection treatment of hemorrhoids in patients with acquired immunodeficiency syndrome. Dis Colon Rectum 2001;44:401-4.

Moore BA, Fleshner PR. Rubber band ligation for hemorrhoidal disease can be safely performed in select HHV-positive patients. Dis Colon Rectum 2001;44:1079-82.

Buchmann P, Seefeld H. Rubber band ligation for piles can be disastrous in HIV-positive patients. Int J Colorectal Dis 1989;4:57-8.

Beck DE, Jaso RG, Zajic RA. Surgical manangement of anal condyloma in HIV-positive patient. Dis Colon Rectum 1990;33:180-3.

Gordon PH. Condyloma acuminata. In: Gordon PH, Nivatvongs S, editors. Principles and practice of surgery the colon, rectum, and anus. 2nd ed. St Louis: Quality Medical Publishing; 1999. p. 323-40.

Goldberg GS, Orkin BA, Smith LE. Microbiology of human immuno deficiency virus anorectal discasc. Dis Colon Rectum 1994;37:439-43.

Wexner SD, Roberts PL, Lowry A, Bumstein M, Hicks T, Kerner B, et al. Practice parameters for treatment of fistula-in-ano supporting documentation. Dis Colon Rectum 1996; 39:1363-72.

Manookian CM, Sakol TP, Headrick C, Fleshner PR. Does HIV status influence the anatomy of anal fistula? Dis Colon Rectum 1998;41:1529-33.

Nadal SR, Manzione CR, Galvao VDM, Salim VRMB, Speranzini MB. Healing after fistulotomy, comparative study between HIV+ and HIV- patients. Dis Colon Rectum 1998;41:177-9.

Nada I SR, Manzion e CR, Horta SHC, Galvao VDM. Manangement of idiopathic ulcer of the anal canal by excision in HIV- positive patients. Dis Colon Rectum 1999;42:1598-601.

Iorianni P, Oliver GC. Synergistic soft tissue infection of the perineum. Dis Colon Rectum 1992;35:640-4.

Page MJ, Dreese JC, Poritz LS, Koltun WA.Cytomegalovinus enteritis, a highly lethal condition requiring early deterection and intervention. Dis Colon Rectum 1998;41:619-23.