ประสิทธิผลและภาวะแทรกซ้อนของการสลายนิ่วท่อไตผ่านกล้องส่องตรวจท่อไต ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา: ประสบการณ์ 1 ปี

Main Article Content

สุระชัย ศรีปิยะโสทร

บทคัดย่อ

บทนำ:นิ่วในท่อไตมีการรักษาหลายวิธีได้แก่การผ่าตัดเอานิ่วออก (ureterolithotomy) การสลายนิ่วด้วยเครื่องสลายนิ่ว และการสลายนิ่วผ่านกล้องส่องตรวจท่อไต


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผล และภาวะแทรกซ้อนของการสลายนิ่วท่อไตใน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา


ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยที่ได้รับการสลายนิ่วท่อไตผ่านกล้องตรวจท่อไตใน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2544 ถึงเดือนมิถุนายน 2545 เป็นเวลา 12 เดือน


ผลการศึกษา: ผู้ป่วยนิ่วในท่อไตที่ได้รับการสลายนิ่วท่อไตผ่านกล้องส่องตรวจท่อไตทั้งหมด 95 ราย เป็นชาย 36 ราย หญิง 59 ราย อายุตั้งแต่ 18-85 ปี อายุเฉลี่ย 40.8 ± 6.2 ปี เวลาที่ใช้ในการทำ 10 – 75 นาที ผลสำเร็จของการสลายนิ่วท่อไตจากการทำครั้งแรก ร้อยละ 87.4 นิ่วท่อไตเหลือต้องส่องกล้องสลายนิ่วซ้ำร้อยละ 7.4 นิ่วเคลื่อนขึ้นไปที่ไต ต้องสลายนิ่วด้วยเครื่องสลายนิ่วต่อร้อยละ 5.2 ภาวะแทรกซ้อนที่พบ คือ ท่อไตทะลุ 2 ราย เยื่อบุท่อไตฉีกขาด (mucosal injury) 5 ราย กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน (pyelonephritis) 3 ราย และปวดท้องมากจากการบีบตัวของท่อไต 2 ราย


สรุป: การสลายนิ่วท่อไตผ่านกล้องส่องตรวจท่อไตใช้เวลาในการทำไม่มาก และได้ผลสำเร็จสูง พบภาวะแทรกซ้อนน้อย ผู้ป่วยไม่มีแผลผ่าตัดไม่ต้องพักฟื้นนาน จึงน่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษานิ่วในท่อไต

Article Details

How to Cite
ศรีปิยะโสทร ส. (2024). ประสิทธิผลและภาวะแทรกซ้อนของการสลายนิ่วท่อไตผ่านกล้องส่องตรวจท่อไต ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา: ประสบการณ์ 1 ปี. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 26(3), 139–144. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2170
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Yanagawa M, Kawamura J, Onishi T, et al. Incidence of urolithiasis in Northest Thailand. Int J Urol 1997;46:37-40.

Young HH,Mckay RW.Congenital valvular obstruction of the prostatic urchra. Surg Gynecol Obstet 1929;48:509.

Marshall VF. Fiberoptics in urology I Urol 1964;91:110.

Lyon ES, Kyker IS. Schoenberg HW. Transurethral ureteroscopy in women. J Urol 1978;911:35.

Huffman JL, Bagley DH, Lyon ES. Treatment of distal ureteral stone using rigid ureteroscope. Urology 1982;20:

Bagley DH, Huffan JL. Ureteroscopic retrieval of proximally located ureteral stents. Urology 1991;37:446-8.

Netto NR , Ferreira U, Lemos GC, et al. Endourogica I management of ureteral strictures. J Urol 1990;149:276A.

Kumon H, Tsugawa M, Matsumara Y,et al. Endoscopic diagnosis of benigh essential hematuria. J Urol 1990;143: 554-8.

Streem SB, Ponntes JE, Novick AC, et al Ureteropyelo- scopy in evaluation of upper tract filling defects. J Jirol 1986; 136: 383-5.

บรรณกิจ โลจนาภวัฒน์, ศุภณ ศรีพลากิจ. สุริธร สุนทรพันธ์, สุพจน์ วุฒิการณ์. Ureteroscopic procodure: experience with 128 cases. วารสารยูโร 2539;21:56-62.

สุเมธ ภัทรวรธรรม. ประสบการณ์ส่วนตัวในการใช้กล้องส่องตรวจท่อไต 670 ราย. วารสารยูโร 2542; 20: 33-43.