ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารฟอสเฟตอินทรีย์ในเกษตรกร 2 ตำบล อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2542
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ : วัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจอัตราความชุกของเกษตรกรที่เป็นโรคพิษฟอสเฟตอินทรีย์ชนิดเรื้อรัง ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรค และเพื่อหาแนวทางในการควบคุมและป้องกัน วัสดุและวิธีการ การศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (cross-sectional analytic study) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2542 กลุ่มเกษตรกรได้รับการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ ส่งตรวจวัด acetylcholinesterase activity ในเม็ดเลือดแดง (ACHE) เป็นข้อมูลพื้นฐาน วิเคราะห์โดย spectrophotometric method แล้วในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน 2542 สัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกรและตรวจร่างกายโดยแพทย์ พร้อมทั้งเจาะเลือดครั้งที่ 2 เปรียบเทียบเพื่อวินิจฉัยโรคและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณรา และ Chi-square test ผลการศึกษา กลุ่มเกษตรกรได้รับการเจาะเลือดทั้ง 2 ครั้งจำนวน 101 คน พบว่าไม่มีเกษตรกรเจ็บป่วยด้วยโรคพิษฟอสเฟตอินทรีย์ชนิดเรื้อรัง แต่มีผู้ที่มีเอนไซม์ลดลงร้อยละ 0-30 จำนวน 15 ราย คิดเป็นอัตราความชุกร้อยละ 14.9 ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งไม่มีอาการผิดปกติ (8/15 ราย) ได้เปรียบเทียบในกลุ่มที่เอนไซม์ลดลงกับกลุ่มปกติ พบว่าการพ่นสารเคมีใต้ลมมีโอกาสทำให้เอนไซม์ลดลง 6.7 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่พ่นเหนือลมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR 6.7,95% CI 1.4-32.1) สรุป เกษตรกรยังมีการทำงานที่ไม่ปลอดภัยจึงควรเน้นพฤติกรรมในการทำงานที่ปลอดภัยให้มากขึ้น ถ้าจำเป็นต้องตรวจติดตามทางชีวภาพ ควรพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการตรวจวัด ACHE ก่อนทำงาน และการตรวจสุขภาพประจำปี นอกจากนี้ควรศึกษาเพิ่มเติมถึงรูปแบบการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีในระดับพื้นที่
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชูชัย ศุภวงศ์, สมศักดิ์ ชุณหรัศม์, ยุวดี คาดการณ์ไกล. สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อสุขภาพในประเทศไทย. รายงานเสนอต่อองค์การอนามัยโลก ปี พ.ศ. 2538. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ดีไซร์; 2539. หน้า 58-9.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานผลการ ดำเนินงานประจำปี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา2540. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา:2540.
สมิง เก่าเจริญ,หลักการวินิจฉัยและรักษาภาวะเป็นพิษ/สารพิษ. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2541.
Colossio C. Assessment of human exposure to pesticides: biological monitoring, Intemational traing course "Toxicology of Pesticides"; June 29-30, 1988. S.D. Avenue Hotel, Bangkok.
Maroni M, Feriolia A. Pesticides. In: Stellman JM, editor. Encyclopedia of occupational health and safety.4th ed. Geneva: Intemational Labour Office; 1998. p. 27.18-27.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน (ฉบับปรับปรุง กันยายน 2541) นนทบุรี: สำนักพัฒนาวิชาการเพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธาธารณสุข; 2542.
สมิงเก่าเจริญ, ยุพาลีลาพฤทธิ์.เกณฑ์มาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดแมลง กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และคาร์บาเมท. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี, มปพ.
Rosenberg J, O'Malley M. Pesticides. In: LaDou,editor. Occupational & environmental medicine. 2nd ed. Connecticut: Appleton & Lange; 1997. p. 530-55.
Grittin P, Mason H, Heywood K, Cocher J. Oral and dernal absorption of chlorpyrifos: a human volunter study. Occup Environ Med 1999;56:10-3.
Gomes J, Lloyd OL, Revitt DM. The influence of personal protection, environmental hygiene and exposure to pesticides on the health of immigrant farm workers in a desert country. Int Arch Occup Environ Health 1999;72:40-5.
Mc Connell R, Magnotti R. Screening for insecticide overexposure under field conditions: a reevaluation of the tintometric cholinesterase kit. Am J Public Health 1994; 84: 479-81.
London L, Thompson ML, Sacks S, Fuller B, Bachmann OM, Myers JE. Repeatability and validity of a field kit for estimation of cholinesterase in whole blood. Occup Environ Med 1995; 52: 57-64.