รายงานการประเมินการใช้ยาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ: คณะอนุกรรมการประเมินการใช้ยาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2 คณะ เริ่มทำการประเมินการใช้ยาในโรงพยาบาล เพื่อส่งเสริมการใช้ยาให้สมเหตุสมผล ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการกับยาต้านจุลชีพบัญชี ง. 12 รายการ ยาทั่วไปที่ไม่ใช่ยาต้านจุลชีพ 2 รายการ และเก็บข้อมูลแบบ concurrent method ในผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในทุกรายที่ใช้ยาเป้าหมาย ผลการดำเนินการตั้งแต่ 14 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม 2543 พบว่ามีการสั่งยาต้านจุลชีพเป้าหมายทั้งหมด 1,271 ครั้ง โดยมีการสั่งใช้ยา ceftriaxone >1 g/วัน มากที่สุด 659 ครั้ง (ร้อยละ 51.8) รองลงมาคือ ceftazidime 198 ครั้ง (ร้อยละ 15.6 ) และ imipinem 92 ครั้ง (ร้อยละ 7.2) และในยาต้านจุลชีพที่ประเมินเชิงคุณภาพ 4 รายการ คือ ยา imipenem inj, ciprofloxacin inj, ciprofloxacin tab, ceftazidime inj พบว่ามีข้อบ่งใช้ตามเกณฑ์ที่โรงพยาบาลกำหนดร้อยละ 80 ซึ่งเป็นการสั่งแบบ empiric therapy ร้อยละ 44 แบบ document therapy ร้อยละ36 ขนาดการใช้ยาตามเกณฑ์ร้อยละ 87 ช่วงเวลาการใช้ยาตามเกณฑ์ร้อยละ 81 มีการหลีกเลี่ยงการสั่งใช้ยาที่มีผลปฏิกิริยาต่อกันร้อยละ 55 และไม่พบผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาร้อยละ 72 โดยภาพรวมพบว่ามีการสั่งใช้ยาเหมาะสม (รวมใช้เหมาะสมตั้งแต่แรก ข้อบ่งใช้ไม่ตรงตามเกณฑ์แต่มีเหตุผลยอมรับได้ และมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ยาให้เหมาะสมภายหลังการ intervention โดยเภสัชกร) คิดเป็นร้อยละ 69 ผลการประเมินเชิงประมาณ เมื่อเทียบสัดส่วนมูลค่าการใช้ของยาฉีด 5 รายการ คือ ยา imipenim inj, ciprofloxacin inj, ceftazidime ing, ceftriaxone inj และ vancomycin inj กับมูลค่าการใช้ยาต้านจุลชีพทั้งหมดของโรงพยาบาล พบว่าลดลงจากร้อยละ 27.3 ในช่วงก่อนดำเนินการ (เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน 2543) เป็นร้อยละ 22.9 ในช่วงหลังดำเนินการ (เดือนกรกฎาคม ถึง ธันวาคม 2543) สำหรับผลการประเมินการใช้ยาทั่วไปที่ไม่ใช่ยาต้านจุลชีพ พบว่ามีการสั่งใช้ยา pentoxiphylline tab ข้อบ่งใช้ตามเกณฑ์ร้อยละ 61 ขนาดการใช้ยาตามเกณฑ์ร้อยละ 61 ยา atorvastatin tab ข้อบ่งใช้ตามเกณฑ์ร้อยละ 94 และขนาดการใช้ตามเกณฑ์ร้อยละ 100 มูลค่าการใช้ยา pentoxiphylline tab พบว่ามีมูลค่าลดลงจากก่อนดำเนินการ ส่วนยา atorvastatin tab เป็นยาเข้ามาใหม่ ต้องติดตามข้อมูลการใช้ในระยะต่อไป สรุป การใช้ยาเป้าหมายส่วนใหญ่ใช้ตามเกณฑ์ที่โรงพยาบาลกำหนด และพบว่ามูลค่าการสั่งใช้ยาเป้าหมายส่วนใหญ่ลดลงหลังจากเริ่มดำเนินการประเมินการใช้ยา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข. การกำกับประเมินและตรวจสอบการใช้ยา (drug แnlization evaluation,DUE) ในบัญชียาหลักแห่งชาติ. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา มีนาคม 2543.
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. รายงานผลปฏิบัติงานของกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. ประจำปีงบประมาณ 2540.
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. รายงานผลปฏิบัติงานของกลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. ประจำปีงบประมาณ 2541.
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. รายงาน ผลปฏิบัติงานของกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. ประจำปีงบประมาณ 2542.
คณะอนุกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรง พยาบาลมหาราชนครราชสีมา. รายงาน ประจำปี 2542.
สุขรัช ผิวขำ, สมพงษ์ ธเนศเศรษฐ์, พัฒนพงย์ ภักติยานุวรรตน์.การศึกษาทบทวนการใช้ยา imipenem/cilastatinในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. รายงานการวิจัยหาวิทยาลัยขอนแก่น , 2538.
สุรีย์ แสงทอง. การประเมินโครงการและติดตามการใช้ยา imipenem/cilastatin ใน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543.
สาลินี คูหะโรจนานนท์, มณีพรรณ ไกรวิศิษฏ์กุล. การประเมินการใช้ยา cefazidine ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2541: 22: 35-42.