ผลการรักษา Hirschsprung’s Disease ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ: ที่มาของรายงาน ในการรักษา Hirschsprung’s Disease ผู้ป่วยมิได้เข้าสู่ภาวะปกติในทันทีหลังผ่าตัด ยังต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการปรับตัว และผลการรักษายังมีความแตกต่างกันอยู่ในผู้ป่วยแต่ละราย น่าจะมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการรักษา หรือน่าจะมีระยะเวลาที่กำหนดว่าหลังผ่าตัดผู้ป่วยควรขับถ่ายอุจจาระเป็นปกติได้เมื่อใด วัตถุประสงค์ เพื่อแสดงผลการรักษาผู้ป่วย Hirschsprung’s Disease ทั้งหมด ที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และเสนอสมมติฐาน หรือปัจจัยที่น่าจะมีความสัมพันธ์กับผลการรักษา วิธีการ ศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยที่มารับการรักษาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2529 ถึง 31 ธันวาคม 2543 ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย ทะเบียนผู้ป่วยของห้องผ่าตัด และหอผู้ป่วยศัลยกรรมเด็ก บันทึกของแพทย์ผู้รักษา วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยจำแนกจำนวนเป็นร้อยละ และ Chi square โดยให้ค่านัยสำคัญที่ p0.05 ผลการศึกษา จำนวนผู้ป่วย 193 ราย ชาย 160 หญิง 33 (อัตราส่วน ชาย:หญิง = 5: 1) อายุขณะทำผ่าตัดตั้งแต่ 4 เดือน ถึง 10 ปี ผู้ป่วยที่ผ่าตัดเมื่ออายุน้อยกว่า 1 ปี มี 120 ราย ใช้วิธีผ่าตัดแบบ Swenson 149 ราย Rehbein 36 ราย Duhamel 2 ราย Martin 2 ราย และ Rectal myectomy 4 ราย early complications ที่พบคือ enterocolitis, retracted anastomosis, anastomotic leak และ late complications ที่พบมากที่สุด คือ achalasia ปัจจัยที่น่าจะมีความสัมพันธ์กับผลการรักษาได้แก่ การวินิจฉัย อายุขณะผ่าตัด เทคนิควิธีการผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการขับถ่ายเป็นปกติภายใน 2 ปี หลังผ่าตัด ผู้ป่วยที่มาติดตามผลการรักษาต่อเนื่องนานที่สุด 10 ปี การติดตามผลการรักษานานกว่า 2 ปี จะพบ late complication มากขึ้น เช่น soiling, achalasia สรุป การทบทวนผลการรักษาและศึกษาเปรียบเทียบกับสถาบันอื่น ๆ ของต่างประเทศ น่าจะนำมาสู่แนวทางปฏิบัติที่ลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน และทำให้ผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติหลังผ่าตัดได้ดีทีสุดและเร็วที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Russell MB, Russell CA, Niebuhr E. An epidemiological study of Hirschsprung's disease and additional anomalies. Acta Paediatr 1994;83:68-71.
Spouge D, Baird PA. Hirschsprung's disease in a large birth cohort. Teratology 1985;32:171-5.
ดวงตา อ่อนสุวรรณ. การวินิจฉัย Hirschsprung's discase. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2542;23:15-26.
Sherman Jo, Snyder ME, Weitzman JJ, et al. A 40-year multirational retrospective study of 880 Swenson procedures. J Pediatr Surg 1989;24:833-8.
Carcassnne M, Guys JM, Lacombe GM, Kreitman B. Management of Hirschsprung's disease: curative surgery before 3 months of age. J Pediatr Surg 1989;24 1032-4.
Drossman DA, Sandler RS, Mckckce DC, et Bowel pattem among subjects not sccking health care. Gastroenterlogy 1982;83:529-34.
Storey DW, Soobie WG. Impaired gastrointestinal mucosal defense in Hirschsprung's discase: a clue to the pathogenesis of enterocolitis? J Pediatr Surg 1989;24:462-4.
Swenson O. My early experience with Hirschsprung's disease. J Pediatr Surg 1989;24:839-45.
Soave F. Endorectal pull through: 20 years experience. J Pediatr Surg 1985;20:568-79.
Livaditis A. Hirschsprung's discase: long-teresulls of the original Duhamel operation. J Pediatr Surg 1981;16:484-6.