การพัฒนาบุคลากรและ แนวทางคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ในผู้ป่วยเบาหวาน สำหรับโรงพยาบาลชุมชน จ.นครราชสีมา

Main Article Content

ณัฐชัย นิธิอภิญญาสกุล
อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ เพื่อคัดกรองผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในคลินิกเบาหวานของโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา ให้ได้รับการตรวจกับจักษุแพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์ วัสดุและวิธีการ 1) จักษุแพทย์จัดอบรมวิชาการและภาคปฏิบัติให้กับแพทย์ และพยาบาล ของโรงพยาบาลชุมชน และกำหนดแนวทางการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตาในผู้ป่วยเบาหวาน 2) แพทย์ และพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนคัดกรองผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ของภาวะเสี่ยงต่อเบาหวานขึ้นจอประสาทตา และส่งตรวจกับจักษุแพทย์ 3) จักษุแพทย์ตรวจและรักษาผู้ป่วยที่ได้คัดกรองจากโรงพยาบาลชุมชน และรายงานผลให้โรงพยาบาลชุมชน เพื่อติดตามผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้ได้รับการตรวจตาอย่างสม่ำเสมอในเวลาที่เหมาะสม ผลการศึกษา โรงพยาบาลชุมชนจำนวน 15 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 62.5 ของโรงพยาบาลในจังหวัดนครราชสีมา คัดกรองผู้ป่วยในคลินิกเบาหวานที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตาจำนวน 501 คน จักษุแพทย์ได้ตรวจผู้ป่วยจำนวน 378 คน (ร้อยละ 75.5) ผลการตรวจพบ diabetic retinopathy 132 คน (ร้อยละ 34.9) ในจำนวนนี้เป็น proliferative diabetic retinopathy 9 คน (ร้อยละ 2.4) สรุป โรงพยาบาลชุมชนสามารถค้นหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานในจังหวัดนครราชสีมาได้รับการตรวจตากับจักษุแพทย์ในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจะลดภาวะพิการทางสายตา และเป็นการพัฒนาระบบบริการในคลินิกเบาหวาน

Article Details

How to Cite
นิธิอภิญญาสกุล ณ., & นิธิอภิญญาสกุล อ. (2024). การพัฒนาบุคลากรและ แนวทางคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ในผู้ป่วยเบาหวาน สำหรับโรงพยาบาลชุมชน จ.นครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 24(2), 69–82. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2236
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ธัญญา เชษฐากุล, เพ็ญศิริวรรณ แสงอากาศ, วิจิน พงษ์ฤทธิ์ศักดา, และคณะ. ภาวะเทรกซ้อนทางหลอดเลือดในผู้ป่วย เบาหวานของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2538:19:160-73.

Ansayakhy S Jitarasatit J. Prevalence of diabetic retinopathy in NIDDM patients. Thai J Ophthalmology 1991;5:133-8.

Nitiapinyasakul A, Nitiapinyasakul N. Risk factors of ophthalmic complications in diabetes. Thai J Ophthalmology 1991;13:23-33.

Klein R, Moss SE, Klein BEK, et al. The Wisconsidemiologic study of diabetic retinopathy III.Arch Ophthalmol 1984;102:527-32.

Klein R, Moss SE, Kicin BEK, et al. The Wisconsin epidemiologic study of diabetic retinopathy VII. Ophthalmology 1987;94:1389-400.

Klein R, Moss SE, Klein BEK, et al.The Wisconsin epidemiologicstudy of diabetic retinopathy X. Arch Ophthalmol 1989;107:244-9.

Teuscher A. Incidence of diabetic retinopathy and relationship to base line plasma glucose and blood pressure. Diabetes Care 1988;11:246-51.

The diabetes control and complications trial research group (DCCT). The effect of intensive treatment of diabetes on the development and progression of long term complication in NIDDM. N Eng J Med 1984;311:365-72.

The KROC Collaborative Study Group. A preliminary multicenter trial blood glucose control and the evolution of diabetic retinopathy and albuminuria. N Eng J Med 1984; 311:365-72.

Cignarelli M. High systolic blood pressure increases prevalence and severity of retinopathy in NIDDM patcints. Diabetes Care 1992;15:1002-8.