การตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดหัวใจที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

ทองประกอบ ศิริวาณิชย์
บัญชา สุขอนันต์ชัย
พินิศจัย นาคพันธุ์
วิจิน พงษ์ฤทธิ์ศักดา
พินิจ แก้วสุวรรณะ
ศิริลักษณ์ พรหมถาวร
คัมภิรัตน์ แก้วสุวรรณะ
พุทธรักษ์ ยินดีหา
เฟื่องลดา ตัณฑุลกนกรัชต์
อนัญญา แซ่อุย
พันฐิภา งิ้วออก
บุญเชิด จัดเกาะ
อดุลย์ เกษีจอหอ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดอื่น ต่อการรักษาที่ตามมาในระหว่างการดำเนินการระยะแรกของศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา รวมทั้งประโยชน์ใช้งานของหัตถการดังกล่าวในภาวะอื่น ๆ


ผู้ป่วยและวิธีการ ผู้ป่วยทั้งหมดที่มารับการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างเดือนตุลาคม 2542- พฤษภาคม 2543 การตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดทำตามแนวปฏิบัติมาตรฐาน โดยใช้เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดหัวใจชนิด 2 ระนาบ ที่สามารถลบภาพเงาหลัง (biplane imaging system with digital substraction angiography, DSA) และนำเสนอความรู้พื้นฐานของการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดประกอบราย งานผู้ป่วย


ผลการศึกษา  มีผู้ป่วยทั้งหมด 120 ราย เป็นชาย 69 ราย และหญิง 51 ราย อายุเฉลี่ย 56 ± 14.2 ปี พิสัยอายุ 18-87 ปี ได้รับการตรวจสวนเส้นเลือดหัวใจ (coronary artery arteriography, CAG) 84 รายตรวจสวนหัวใจด้านขวา 14 รายตรวจสวนเส้นเลือดสมอง 10 ราย ตรวจสวนเส้นเลือดไต 1ราย ตรวจเส้นเลือด subclavian 1 ราย และใส่เครื่อง กระตุ้นหัวใจชนิดชั่วคราวและชนิดถาวร 1 และ 9 ราย ตามลำดับ ผลจากการตรวจทำให้สามารถส่งผู้ป่วยทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ/ผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 43 ราย ผู้ป่วยเตรียมการก่อนผ่าตัดหัวใจจำนวน 21 ราย ทำการปลูกถ่ายไต 1 ราย ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดชั่วคราวจำนวน 1 ราย และชนิดถาวรจำนวน 9 ราย รักษาด้วยการรับประทานยาจำนวน 42 ราย ตรวจไม่พบความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจจำนวน 3 ราย มีผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อน 4 ราย (ร้อยละ 3.3) ได้แก่ dissection of femoral artery 2 ราย supraventricular tachycardia (SVT) 1 ราย และ ventricular tachycardia (VT) 1 ราย ไม่พบภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด ไม่พบผู้ป่วยแพ้สารทึบรังสีหรือผู้ป่วยเสียชีวิตจากการทำหัตถการนี้


สรุป  การตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดที่ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยและไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต สามารถใช้เป็นตัวช่วยกำหนดชนิดของการรักษาที่ตามมา หรือใช้ช่วยรักษาโรคหัวใจ เช่น การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

Article Details

How to Cite
1.
ศิริวาณิชย์ ท, สุขอนันต์ชัย บ, นาคพันธุ์ พ, พงษ์ฤทธิ์ศักดา ว, แก้วสุวรรณะ พ, พรหมถาวร ศ, แก้วสุวรรณะ ค, ยินดีหา พ, ตัณฑุลกนกรัชต์ เ, แซ่อุย อ, งิ้วออก พ, จัดเกาะ บ, เกษีจอหอ อ. การตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดหัวใจที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. MNRHJ [อินเทอร์เน็ต]. 30 ตุลาคาม 2024 [อ้างถึง 25 พฤษภาคม 2025];24(3):135-44. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2270
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Grosssman W. Historical perspective . In: Baim DS Grossman W.editors. Cardiac catheterization, angiography and intervention. Baltimore: Williams & Wilkins; 1996.p.3-7.

Grossman W. Current practice standards. In: Baim DS, Grossman W.editors. Cardiac catheterization, angiography and intervention. Baltimore: Williams & Wilkins: 1996.p.9-16.

Baim DS, Grossman W. Complications of cardiac catheterization. In: Baim DS,Grossman W, ediors. Cardiac catheterization, angiography and intervention. Baltimore: Williams & Wilkins; 1996. p. 17-38.

Baim DS. Angiography proper utilization of cincangiographic equipment and contrast agents. In: Baim DS, Grossman W. cditors. Cardiac catheterization, angiography and intervention.Baltimore: Williams & Wilkins; 1996.p. 39-53.

โครงการศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือคระดับสบสมบูรณ์ (ระดับที่3) อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา: 2542.

St. John Sutton MG, St. John Sutton M, Oldershaw P, et al. Valve replacement without cardiac catheterization. N Engl J Med 1981;305:1233-8.

Roberts WC. Sounding board: reasons for cardiac catheterization before cardiac surgery. N EngI J Med 1982;306:1291-3.

ศุกชัย ถนอมทรัพย์.การตรวจสวนหัวใจและการวินิจฉัยด้วยการฉีดสารทึบรังสึ. ใน:สมชาติ โลจายะ, บุญชอบ พงย์พาณิชย์,พันธุ์พิษณ์ สาครพันธ์, บรรณาธิการ. ตำราโรคหัวใจและหลอดเลือด. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2536. หน้า 260-7.

พรรณี เสถียรโชค. การตรวจหลอดเลือดหัวใจโคโรมารีและช่องหัวใจเวนตริเคิลด้วยสารทึบรังสื. ใน: สมชาติ โลจายะ,บุญชอบ พงย์พาณิชย์, พันธุ์พิษณ์ สาครพันธ์, บรรณาธิการ. ตำราโรคหัวใจและหลอดเลือด. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2536. หน้า 268-81.

Hillis LD, Landau C. Cardiac ventriculography. In: Baim DS, Grossman W, editors. Cardiac catheterization, angiography and intervention. Baltimore: Williams & Wilkins 1996.p.219-31.

Sahasakul Y, Chaithiraphan S. Comparison of cardiac output measured by suprasternal Doppler echocardiography and thermodilution in cardiac care unit. J Med Assoc Thai 1988;71:112-4.

Gruentzig AR, Senning A, Sicgenthaler WE. Non operative dilatation of coronary artery stenosis: percutaneous transluminal coronary angioplasty. N Engl J Med 1979:301:61-8.

Schoonmaker FW, King SB III Coronary arteniography by the single catheter percutaneous femoral technique: experience with 6,800 cases. Circulation 1974;50:735-40.

Abrams HL, Adams DF. The complications of coronary arteriography. Circulation 1975;52(suppl 2):27.

Davis K, Kennedy JW, Kemp HG Jr, et al. Complications of coronary arteriography from the Collaborative Study of Coronary Artery Surgery (CASS). Circulation 1979;59:1105-13.