การศึกษาต้นทุนของการผลิตยาทั่วไปในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ: บทนำ การผลิตยาทั่วไปในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ส่วนใหญ่ (72 รายการจาก 94 รายการ) เป็นรายการที่ไม่มีการผลิตจำหน่ายในท้องตลาด ที่เหลือส่วนน้อย (22 รายการ) เป็นรายการที่มีการผลิตจำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งต้นทุนของการผลิตยาทั่วไป ยังไม่เคยมีการศึกษาวิจัยมาก่อน วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตและแบ่งบรรจุยาทั่วไป ในด้านต้นทุนทางตรง ต้นทุนทางอ้อม ต้นทุนทั้งหมด และต้นทุนต่อหน่วย และเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยระหว่างการผลิตและแบ่งบรรจุเองกับการจัดซื้อจากผู้ผลิตจำหน่ายอื่น วัสดุและวิธีการ ทำการเก็บข้อมูลย้อนหลังในปีงบประมาณ 2543 โดยแล่งต้นทุนเป็น direct และ indirect costs ซึ่งต้นทุนแต่ละชนิดยังแบ่งได้เป็น fixed และ variable costs กระจายต้นทุนต่าง ๆ ไปยังยาที่ผลิตและแบ่งบรรจุแต่ละรายการด้วย allocation factor ที่เหมาะสม จากนั้นรวมต้นทุนต่าง ๆ และหาต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนต่อหน่วย สำหรับต้นทุนของยาที่จัดซื้อ คำนวณโดยต้นทุนที่จัดซื้อจากผู้ผลิตจำหน่ายอื่นรวมกับต้นทุนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการจัดซื้อ กระจายต้นทุนไปยังยาแต่ละรายการด้วย allocation factor ที่เหมาะสม จากนั้นหาต้นทุนต่อหน่วย ผลการศึกษา ต้นทุนการผลิตทั้งสิ้น 1,928,553.18 บาท เป็นต้นทุนรวมทางตรงร้อยละ 96.4 และต้นทุนรวมทางอ้อมร้อยละ 3.6 ซึ่งต้นทุนค่าวัตถุดิบ ต้นทุนค่าแรงรวม (fix บวก variable cost) และต้นทุนค่าเสียโอกาสสิ่งก่อสร้าง มีมูลค่าเป็นอันดับ 1, 2 และ 3 ของต้นทุนการผลิตทั้งสิ้น สำหรับต้นทุนการแบ่งบรรจุทั้งสิ้น 884,549.47 บาท เป็นต้นทุนรวมทางตรงร้อยละ 96.7 และต้นทุนทางอ้อมร้อยละ 3.3 ซึ่งต้นทุนค่าภาชนะบรรจุ ต้นทุนค่าแรงรวม (fix บวก variable cost) และต้นทุนค่าเสียโอกาสสิ่งก่อสร้างมีมูลค่าเป็นอันดับ 1, 2 และ 3 ของต้นทุนการแบ่งบรรจุทั้งสิ้นเช่นกัน สำหรับรายการยาที่มีผู้ผลิตจำหน่ายในท้องตลาดทั้งสิ้น 22 ชนิดเมื่อรวมขนาดบรรจุต่าง ๆ แล้วมีทั้งสิ้น 25 รายการ โรงพยาบาลผลิตและแบ่งบรรจุมีต้นทุนถูกกว่าการจัดซื้อในท้องตลาด 18 รายการ ที่จัดซื้อจากท้องตลาดถูกกว่าการผลิตและแบ่งบรรจุเอง 7 รายการ เป็นรายการที่องค์การเภสัชกรรมผลิตทั้งสิ้น สรุป การศึกษาวิเคราะห์ต้นทุน ทำให้รู้ต้นทุนที่เป็นจริง สามารถคิดราคาที่จำหน่ายแก่ผู้มารับบริการได้ถูกต้อง และสามารถบริหารจัดการเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุดในต้นทุนที่ต่ำสุดได้ รวมทั้งสามารถวางแผนการผลิตหรือไม่ผลิตรายการใดเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดซื้อจากผู้ผลิตอื่น โรงพยาบาลที่มีการผลิตยา ควรจะมีการศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงานและวางแผนงานของผู้บริหารต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. สรุปรายงานประจำปี 2543. นครราชสีมา: โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา: 2543.
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.ตารางการจัดสรรเงินงบประมาณและการบริหารแผนเงินบำรุงปี2543, นครราชสีมา: โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา;2543.
งานผลิตยาทั่วไป กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสึมา. รายงานการผลิตยาทั่วไป ประจำปีงบประมาณ 2543 นครราชสีมา : กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา; 2543.
องค์การเภสัชกรรม. บัญชีราคายาภาคราชการสำหรับปี 2543. กรุงเทพฯ: องค์การเภสัชกรรม; 2543.
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารต้านยากระทรวงสาธาธารณสุข. รายงานข้อมูลการจัดซื้อ [online]. กระทรวงธารณสุข:2543. [cited 2000 Sep 6] Available from: http://www.phd.moph.go.th/pharmacy/report.html
งานผลิตยาปราศจากเชื้อ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลขอนเเก่น. สรุปยอดผลิตยาปราศจากเชื้อ ประจำปีงบประมาณ 2537. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น; 2537.
ณัฏฐิยา ค้าผล. การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนของยา triamcincinolone cream 0.1% ระหว่างการสั่งซื้อและการผลิตขึ้นใช้เองในโรงพยาบาล. รายงานวิชา hospital pharnacy admininistration and practice 1, ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2538.
Suwanphaiboon P. Analysis of total manufacturing cost of large volume parenteral products at Mahaharat Nakhon Rarchasima Hospital. [M.Sc. Thesis in Pharmacy] Bangkok: Faculty of Graduate Studies, Mahidol University; 1996.
กลุ่มงานแผนงานและ โครงการ กองโรงพยาบาลภูมิภาค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการวางแผนงบประมาณเพื่อรองรับงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ปีงบประมาณ 2544-2545. กรุงเทพฯ:47-50.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติงานโรงพยาบาลชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2529.