ผลของการหลั่งน้ำนมหลังการกระตุ้นอย่างถูกวิธีในมารดาผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ที่เป็นท้องแรกครรภ์เดี่ยวและไม่มีภาวะแทรก ซ้อนทั้งมารดาและทารก ที่คลอดที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2537 ถึง วันที่ 31 มกราคม 2538 รวมระยะเวลา 4 เดือน ได้ผู้ป่วย 99 ราย แบ่งเป็นกลุ่มกระตุ้น 50 ราย และกลุ่มไม่กระตุ้น 49 ราย ทั้ง 2 ลุ่มเลือกแบ่งตาม random และมีข้อมูลพื้นฐานที่ไม่แตกต่างกันในกลุ่มศึกษาจะ เพิ่มการกระตุ้นให้ลูกดูดนมเร็วหลังจากรู้ตัวดีหลังผ่าตัด และดูดบ่อยทุก 2 ชั่วโมงแล้วเก็บข้อมูลศึกษาในเรื่องความเจ็บปวด จากแผลผ่าตัดหลังคลอดวันที่ 1,2,3 เวลาเริ่มให้ลูกดูดนม เวลาที่น้ำนมเริ่มมาและเวลาที่น้ำนมมาเต็มที่ ผลการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยกลุ่มกระตุ้นจะมีการให้ลูกดูดเร็วกว่าและมีปริมาณน้ำนมมาก เร็วกว่ากลุ่มไม่กระตุ้นจะมีความเจ็บปวดจากผลผ่าตัดใน 2 วันแรกมากกว่ากลุ่มไม่กระตุ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Fort p, Lanes R,Dahlem S et al. Breastfeeding and insulin-dependent diabetes mellitus in children. J Am Coll Nutr 1986 ; 5: 439-441.
Bernal JF < Richards MPM : The effects of bottle & breast feeding on infant development J. Psychosom,Pur. 14 : 247-252, 1970
Kennedy KL, Rivera R and MoNeilly AS. Consensus statement on the use of breastfeeding as a family planning method. Contraception 1989 ; 39 : 477-496.
Family Health International. Breastfeeding to prevent breast cancer. Network 1989; 10 : 6-7.
กองอนามัยครอบครัว กระทรวงสาธารณสุข เอกสารประกอบการฝึกอบรม เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข กระทรวงสาธาธารณสุข. 2536.
Pichaipat V, Thanomsingh P, Pudhapongsiriporn S, et al. An intervention model for breast feeding in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Southeast Asean J Trop Med Public Health 1992 ; 23 : 439-43.
ประวิทธ์ สมบุญ กาศึกษาเปรียบเทียบผลขอโครงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โรงพยาบาล สิงห์บุรี, วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2537 ;9, 15-21.
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลสิงห์บุรี วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2536;8,178-187.