การศึกษาแนวโน้มของอุบัติการการได้รับอุบัติเหตุสัมผัสเอดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยในบุคลากรโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

วิมลมาลย์ พงษ์ฤทธิ์ศักดา
สุรสิทธิ์ จิตรพิทักษ์เลิศ
สุจินดา ธิติเสรี
สุชาฏา คล้ายมณี
สินี ยมาภัย

บทคัดย่อ

การเกิดอุบัติเหตุสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยมีผลให้บุคลากรอาจติดเชื้อ โรคที่ติดต่อทางเลือดได้แก่ ตับอักเสบบี ตับอักเสบซี และเอชไอวี จากรายงานการเกิดอุบัติเหตุสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยในบุคลากร โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาปี 2536-2542 พบอุบัติการเฉลี่ย 17 ครั้ง/1000 บุคลากร ซึ่งค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับอัตราความชุกในปี 2543 มีการรายงานสูงถึง 324.8 ครั้ง /1000 บุคลากร การป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งต้องให้ความสำคัญทั้งระบบบเฝ้าระวังและมาตรการป้องกันที่ช่วยลดความเสี่ยง อันจะส่งผลให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการป้องกันหรือรักษาการติดเชื้อ ผลกระทบด้านจิตวิทยาสังคมและผลกระทบด้านอื่น ๆ ของบุคลากร


วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวโน้มของอุบัติการการได้รับอุบัติเหตุสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยในบุคลากรโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาหลังการวางมาตรการป้องกัน


วิธีการศึกษา การศึกษาเชิงพรรณนา โดยการเฝ้าระวังไปข้างหน้า (prospective surveillance study) ติดตามการเกิดอุบัติเหตุระหว่างปี พ.ศ. 2543-2545 และวางมาตรการป้องกันได้แก่ อบรมความรู้เรื่อง standard precautions จัดทำเอกสารแนวทางปฏิบัติและเอกสารประกอบการให้คำปรึกษา จัดหายาต้านไวรัสที่มีผลข้างเคียงน้อยและง่ายต่อการรับประทาน จัดหาอุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยง ประสานการ ตรวจ HIV antigen จัดระบบการติดตามและให้ข้อมูลย้อนกลับเปรียบเทียบกับข้อมูลพื้นฐานก่อนวางมาตรการในปี พ.ศ. 2542 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ อัตรา ร้อยละและจำนวน ผลการศึกษา พบว่าในปี 2543-2545 บุคลากรมีการรายงานการได้รับอุบัติเหตุฯ 31.9,35.7 และ 32.5ครั้ง/1000 บุคลากร ซึ่งเพิ่มจากปี 2542 ที่พบ 21.4 ครั้ง/1000 บุคลากร โดยมีสัดส่วนการรายงานอุบัติการจากการสัมผัสผู้ป่วย HIV negative เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20.6 เป็นร้อยละ 35.8, 53.7 และ 60.6 และพบสัดส่วนของการรายงานสูงขึ้นในกลุ่มแพทย์ ร้อยละ 3.8, 6.0 และ 12.1 และนักศึกษาร้อยละ 18.9, 22.4 และ33.3 อุบัติเหตุเกิดที่หอผู้ป่วยมากที่สุดร้อยละ 66.0, 71.6 และ 60.6 กลไกการบาคเจ็บพบว่าการถูกเข็มตำยังเป็นสาเหตุสำคัญพบร้อยละ 81.1, 77.6 และ 60.6 แต่มีแนวโน้มลดลงหลังจากมีมาตรการแก้ไขปัญหาตั้งแต้ปี 2543 โดยอุบัติเหตุก่อนทิ้งเข็ม (pre-disposal) ลดลงอย่างชัดเจนจากร้อยละ 20.6 เป็นร้อยละ 17, 16.4 และ 4.5


วิจารณ์และสรุป การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผลของมาตรการป้องกัน ส่งผลให้บุคลากรตระหนักในการรายงานการได้รับอุบัติเหตุมากขึ้น การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยงช่วยลดดอุบัติการการได้รับอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติกิจกรรมก่อนการทิ้งเข็ม และในภาพรวมช่วยลดผลกระทบด้านจิตวิทยาสังคมของบุคลากรโดยประเมินจากการขอรับคำปรึกษาจากงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล

Article Details

How to Cite
พงษ์ฤทธิ์ศักดา ว., จิตรพิทักษ์เลิศ ส., ธิติเสรี ส., คล้ายมณี ส., & ยมาภัย ส. (2025). การศึกษาแนวโน้มของอุบัติการการได้รับอุบัติเหตุสัมผัสเอดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยในบุคลากรโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 27(1), 23–32. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2534
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

NIOSH Alert : Preventing Needlestick Injuries in Health Care Settings.Cincinnati, OH: U.S. Department of Health and Human Service, Public Health Service, Center for Disease Control and Prevention, National Institute for Occupational Safety and Health, DHIHS (NIOSH). Publication No. 2000-108. November 1999.

ศันสนีย์ ธนกิจการ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากของมีคมในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาล. จุลสาร ชมรมควบคุบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย 2539, 6:8-9.

Center for Disease Control and Prevention. Recommendations for preventing transmission of infection with human T-lymphotropic virus type IlI/ lymphadenopathy-associated virus in the workplace. MMWR 1985;34:681-6,691-5.

Center for Disease Control and Prevention. Recommendations for prevention of HIV transmission in health-care settings. MMWR 1987;36(suppl 2):15-18S.

Garner JS. Guideline for isolation precautions in hospitals. The Hospital Infection Control Practices Advisory Committee. Infect Control Hosp Epidemiol 1996;17:53-80.

Apisarnthanarak A, Fraser VJ . Bloodborne pathorgens and health care workers in developing countries: Risk assessments and preventive strategies. J Infect Dis Antimicrob Agent 2002; 19:65-79.

Monge V, et al. Epidemiology of biological-exposure incidents among spanish healthcare workers. Infect Control Hosp Epidemiol 2001;22:776-80.

Khuri-Bolos N, Toukan A, Mahafzah A, Al Adham M, Faori, Abu Khader I, et al. Epidemiology of needlestick and sharp injuries at a university hospital in a developing country:A 3-year prospective study at the Jordan University Hospital, 1993 through 1995. Am J Infect Control 1997;25:322-9.

Beekmann SE, Vaughn TE, McCoy KD, Ferguson KJ,Torner JC,Woolson RF,et al. Hospital bloodborne pathogens programs: program characteristics and blood and body fluid exposure rates. Infect Control Hosp Epidemiol 2001;22:73-82.

Jackson MA, William K, Olson-Burgess C, Kinney J, Olson LC, Burry VF. Needlestick injuries in a pediatric hospital. Pediatr Infect Dis 1994;13:318-20.

McCormick RD, Meisch MG, Ircink FG, Maki DG. Epidemiology of hospital sharps injuries: a 14-year prospective study in the pre-AIDS and AIDS eras. Am J Med 1991;91 (suppl 3B):301S-307S.

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. นโยบายและวิธีปฏิบัติเรื่องการใช้เครื่องปกป้องร่างกาย (Barrier Precautions). 2546.