ผลการใช้ผ้ารัดตรึงผู้ป่วยแบบใหม่ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

คณะทำงานความปลอดภัยของผู้ป่วย งานบริหารความเสี่ยง โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

บทคัดย่อ

ภูมิหลัง:ผ้ารัดตรึงผู้ป่วยมีความจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหรือป้องกับอุปกรณ์การช่วยเหลือบางอย่างหลุด บางครั้งอุปกรณ์นี้อาจทำให้เกิดบาดแผลจากการเสียดสีได้ วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการใช้ผ้ารัดตรึงผู้ป่วยแบบปรับปรุงใหม่ ในกิจกรรมความเสี่ยงของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา วิธีการศึกษาใช้แบบสอบถาม นำไปสอบถามกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสึมา ในช่วงเดือน กันยายน พ.ศ. 2546 ผลการศึกษา ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 431ชุด คิดเป็นร้อยละ 96.2 เพศหญิง ร้อยละ 95.8 อายุเฉลี่ย 34.88±8.97 ปี 22-57 ปี) เป็นพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 59.6 ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.28 ปฏิบัติงานอยู่ในหอผู้ป่วยศัลยกรรม,หอผู้ป่วยอายุรกรรมเเละหอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โซปีดิกส์ ผู้ป่วยที่ใช้ผ้ารัดตรึงแบบใหม่ส่วนใหญ่ ได้แก่ ผู้ป่วยดิ้นไปมา, ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือหรือสับสนและผู้ป่วยอาละวาด ผ้ารัดตรึงผู้ป่วยแบบใหม่ มีขนาดเหมาะสมกับผู้ป่วย ร้อยละ 80 วัสดุที่ทำผ้ารัดตรึงผู้ป่วยแบบปรับปรุงใหม่ มีความเหมาะสม ร้อยละ 80 ผ้ารัดตรึงผู้ป่วยแบบปรับปรุงใหม่ง่ายต่อการทำความสะอาด ร้อยละ 69.1 ความสะควกต่อการใช้งาน ร้อยละ 82.6 ประสิทธิภาพสามารถยึดตรึงผู้ป่วยได้ดี ร้อยละ 81.2 ไม่พบเกิดอันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นต่อผู้ป่วย ร้อยละ 84.2 และสามารถใช้ได้ดี ในทางปฏิบัติร้อยละ 82.4 สรุป ผ้ารัดตรึงผู้ป่วยแบบรับปรุงใหม่ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา มีความเหมาะสมสามารถใช้ได้ดี เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยต่อผู้ป่วย เหมาะสมนำไปเป็นต้นแบบใช้ในโรงพยาบาบาลอื่นต่อไป

Article Details

How to Cite
คณะทำงานความปลอดภัยของผู้ป่วย งานบริหารความเสี่ยง โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. (2025). ผลการใช้ผ้ารัดตรึงผู้ป่วยแบบใหม่ของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 27(3), 479–184. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2553
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สุพร ดนัยดุษฎีกุล. การบริหารจัดการกับความเสี่ยง: การพลัดตกหกล้ม. ใน: เรณู อาจสาลี, อรพรรณ โตสิงห์, บรรณาธิการ. พยาบาลกับการบริหารความเสี่ยงในผู้ป่วยศัลยกรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท แอลทีเพรส จำกัด 2546; หน้า 143-50.

Ignatavicius D. Do you help staff rise of the fall-prevention challenge? Nurs manage 2000; 31 : 27-30.

Huda A, Wise LC. Evolution of compliance with a fall-prevention program. J Nurs care qual 1998; 12: 55-63.