สถานการณ์การบาดเจ็บจากการจราจรทางบก อ.เมือง จ.ชุมพร

Main Article Content

กอบกุล พูลปัญญาวงศ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ: จากรายงานประจำปีของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร และ trauma registry ของโรงพยาบาลชุมพร ระหว่าง ปี พ.ศ. 2541-2542 พบวาสการบาดเจ็บเป็นสาเหตุการตายอันดับแรก และส่วนใหญ่เป็นการบาดเจ็บจากการจราจรทางบก (ร้อยละ 70) โดยมีอำเภอเมืองเป็นพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุจากการจราจรทางบกมากที่สุด (ร้อยละ 42.6) ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนสถานการณ์การบาดเจ็บจากการจราจรทางบกของ อ.เมือง จ.ชุมพร ทั้งด้านระบาดวิทยาเชิงพรรณาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุ โดยศึกษาทบทวนข้อมูลแหล่งต่าง ๆ คือข้อมูลการบาดเจ็บจากการจราจรทางบก จากรายงานประจำปีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และจากโรงพยาบาบาลชุมพร ข้อมูลการศึกษาพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์การป้องกันภัยจากการใช้รถในเขตเทศบาลเมืองชุมพร โดยการสังเกตพื้นที่เกิดเหตุถึงลักษณะสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเสี่ยง และการศึกษาเชิงคุณภาพในผู้ป่วยในที่ได้รับบาดเจ็บจากการจราจรทางบกในพื้นที่อำเภอเมือง เพื่อนำผลการศึกษาเสนอต่อคณะกรรมการป้องกันอุบัติเหตุระดับจังหวัดต่อไป ผลการศึกษาพบว่าผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 28.5 ปี ส่วนใหญ่เป็นการบาคเจ็บจากรถรยานยนต์ พบว่าผู้ขับขี่และผู้โดยรถสารจักรยานยนต์มักไม่ได้สวมหมวกนิรภัย (ร้อยละ 76 และ 96.3) สำหรับผู้ขับขี่รถยนต์ ร้อยละ 54.5 ไม่คาคเข็มขัดนิรภัย จุดที่เกิดเหตุมากที่สุดบนถนนเพชรเกยม (ร้อยละ 76) จากการสังเกตจุดเกิดเหตุ พบว่า ถนนที่พบอุบัติเหตุคือ ถนนสายหลักเข้าสู่เมือง เส้นทางไปสถานที่ท่องเที่ยว ร่วมกับลักษณะถนนที่แคบไม่มีกาะกลางถนน ไม่มีไหล่ทาง ไม่มีป้ายแนะนำ ป้ายบังคับ ป้ายเตือน ต้นไม้หนาทึบบริเวณข้างถนนและบริเวณโค้งถนน ไม่มีไฟฟ้า ไฟสัญญาณจราจรชำรุด นอกจากนี้การสัมภาษณ์ผู้บาดเจ็บ พบว่าการใช้มาตรการทางกฎหมายไม่เคร่งคัด ประชาชนไม่ตระหนักถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยจากการใช้รถ ความรีบเร่งในการเดินทาง สภาพจิตใจ ที่มีความกังวล การพูดคุยหยอกล้อกันระหว่างผู้ขับขี่และผู้โดยสาร การขับขี่ที่ไม่ชำนาญ และการเลี้ยงสัตว์บริเวณข้างถนน ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถ และร้อยละ 30 ไม่ได้ทำประกันชีวิตตามพระราชบัญญัติประกันภัยจากรถ ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ เร่งปรับปรุงสภาพแวดล้อมของถนนเส้นทางจุดเกิดเหตุ พร้อมทั้งปรับปรุงป้ายจราจร สัญลักษณ์เส้นจราจรต่าง ๆ ให้มีความชัดเจน ร่วมไปกับมาตรการการกวดขันและการรณรงค์ให้ปฏิบัติตามกฎจราจรในกลุ่มผู้ใช้รถใช้ถนน และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ควรมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของจังหวัด เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับปัญหาที่มีการเปลี่ยนเเปลงอยู่ตลอดเวลา

Article Details

How to Cite
พูลปัญญาวงศ์ ก. (2025). สถานการณ์การบาดเจ็บจากการจราจรทางบก อ.เมือง จ.ชุมพร. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 23(3), 129–142. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2562
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สมศักดิ์ ชุณหรัศม์,ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ, วรรณิภา วงศ์ไกรศรีทอง และคณะ. ระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจรทางบกในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ดีไซร์;2539.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร.รายงานประจำประจำปี 2539-2541.

กอบกุล พูลย์ปัญญาวงศ์, ศันสนี สมบูรณ์กุล, กฤษณ์ติวัฒน์ ฉัตรทอง. ระบาดวิทยาของการบาดเจ็บจากการจราจรทางบก ในโรงพยาบาลชุมพรมีนาคม-สิงหาคม 2540. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2541;3:311-8.

โรงพยาบาลชุมพร. รายงานประจำปี 2540-2542.

วิบูลย์ สุพุทธิธาคา, เธียรชัย บุรพชนก, ศันสนีย์ ยุวาพัฒน์.อุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในผู้ขับขี่ยานพาหนะจังหวัดระยอง ปี 2538. ม.ป.ท.; 2538.

วิจิตร บุณยะโหตระ. วิทยาการระบาดและการควบคุมอุบัติภัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา; 2530.

บุษบา เพ็ญสุวรรณ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบกของผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเวชศาสตร์ชุมชน.กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.

Bradbury A, Roberton C. Prospective audit of the pattern severity and circumstance of injury sustained by vehicle occupants as a result of road traffic accident. Arch Emerg Med 1993;10:15-23.