ภาวะกระจกตาบวมจากพิษยางดอกรัก
Main Article Content
บทคัดย่อ
รายงานผู้ป่วยถูกยางดอกรักเข้าตาทำให้ตามัวลงอย่างมากจากภาวะกระจกตาบวม ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเลย ระหว่างเดือนมกราคม 2540 - มกราคม 2542 พบมีผู้ป่วยจำนวน 14 ราย (14 ตา) เป็นชาย 6 ราย หญิง 8 ราย ผู้ป่วยทุกรายได้รับการรักษาด้วย 1% prednisolone acetate eye drops ร่วมกับ oral prednisolone 30 mg/day ผู้ป่วยทุกรายหายจากภาวะกระจกตาบวม และอาการตามัวจากพิษยางดอกรัก ระยะเวลาการรักษา 2-4 วัน (เฉลี่ย 3.14±0.53 วัน) มีผู้ป่วยเพียง 5 ใน 14 ราย ที่ทราบและสามารถให้ประวัติการถูกยางดอกรักเข้าตาก่อนมีอาการตามัว มีผู้ป่วย 9 ใน 14 ราย (ร้อยละ 64.3) ไม่ทราบว่าตนเองตามัวลงเนื่องจากถูกยางดอกรักเข้าตา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วันชัย ล้อกาญจนรัตน์, มาลินี โตวนิชย์. Corneal edema due to Calotropis procera R. Br. จักษุเวชสาร 2540;11:87-90.
พเยาว์ เหมือนวงศ์ญาติ. เอกสารประกอบการเรียนวิชาพฤกษศาสตร์. คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล, 2529.
พเยาว์ เหมือนวงศ์ญาติ. พืชพิษ. วารสารเภสัชศาสตร์ 2520; 4:119-27.
Smolin G, Thoft RA. The cornea. 2nd ed. Boston: Little Brown & Co.; 1994.
American Academy of Ophthalmology. Basic and clinical science course. Section 8: external disease and cornea; 1994.