การลดเวลาการผ่าตัดมะเร็งเต้านมในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โดยใช้เครื่องมือช่วยผ่าตัดชนิดใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้วิจัยได้ประดิษฐ์เครื่องมือช่วยผ่าตัดชนิดใหม่เพื่อลดเวลาการผ่าตัดมะเร็งเต้านม เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบ retrospective ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพศหญิงที่ต้องทำผ่าตัด modified radical mastectomy ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 ถึง 31 ธันวาคม 2539 เครื่องมือช่วยผ่าตัดชนิดใหม่ประกอบด้วยสายไฟยาว 1 เมตร ปากคีบ 2 อัน ร่วมกับเครื่องมือผ่าตัดปกติ ผลการวิจัยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในอายุผู้ป่วย ขนาดมะเร็ง ระยะเวลาที่ใช้นอนโรงพยาบาล ระยะเวลานอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด และภาวะแทรกช้อน เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่ใช้เครื่องมือช่วยผ่าตัดชนิดใหม่ กับกลุ่มที่ผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือเดิมพบว่าเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.0001) 46.60 นาที เทียบกับ 107.74 นาที ดังนั้นเครื่องมือที่ผู้วิจัยประดิษฐ์ทดลองใช้ช่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 น่าจะสามารถแพร่หลายและมีประโยชน์ต่อไปในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สิโรชน์ กาญจนปักดุจพล. Surgical role in management of breast cancer. ใน: ณรงค์ ไวทยางกูร, กิตติ เย็นสุดใจ, อวยชัย เปลื้องประสิทธิ์, ทองดี ชัยพานิช, บรรณาธิการ. ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 10. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ยูนิตี้พับลิเคชั่น, 2535:256-64.
กริช โพธิสุวรรณ. Surgical options for early breast cancer. ใน: ศุภกร โรจนนินทร์, อดุลย์ รัตนวิจิตรศิลป์, พรชัย โอเจริญรัตน์, กริช โพธิสุวรรณ, วารินทร์ ตัณฑ์ศุภศริ, บรรณาธิการ. Head neck and breast surgery. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้ว, 2539:331-45.
กริช โพธิสุวรรณ. Conventional breast surgery. ใน: ประพันธ์ กิติสิน, พัฒน์พงศ์ นาวีเจริญ, ทองดี ชัยพานิช, วัฒนา สุพรหมจักร, บรรณาธิการ. ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 15. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร, 2540:291-303.
Valley Inc. Intruction manual: Force 2 electrosurgical generator, Colorado, USA: Pfizer hospital products group, 1995.