การศึกษาเด็กแรกคลอดที่ผิดปกติในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาย้อนหลังทารกที่คลอดในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนมตั้งแต่ ปี 2538-2539 1990 ราย เพื่อทราบอุบัติการของทารกปริกำเนิดที่ผิดปกติ และหาปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของความผิดปกตินั้น จากการศึกษานี้พบว่า อุบัติการของทารกพร่องออกซิเจน,ทารกตัวเหลือง, ทารกพิการ, ทารกน้ำหนักน้อย, ทารกตายปริกำเนิด เท่ากับ 10.57,1.51, 1.51, 13.07, 1.00 ต่อทารกเกิดมีชีพ 1000 ราย ตามลำดับ ปัจจัยเสี่ยงของทารกพร่องออกซิเจน ได้แก่ กำหนดคลอด การคลอดด้วยสูญญากาศ การคลอดท่าก้น ปัจจัยเสี่ยงของทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อย ได้แก่ อายุครรภ์น้อยกว่า 38 สัปดาห์, รายได้มารดาน้อยกว่า 2000 บาท/เดือน และการไม่ฝากครรภ์ การที่จะได้ทารกปกติจำเป็นจะต้องเฝ้าระวังและกำจัดปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วัลลภ ไทยเหนือ ภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด ความหวังของการพัฒนา การประชุมวิชาการประจำปี 2538 สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย:32.
ทวีชัย โอฬารรัตน์มณี ภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา วารสารโรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา 2539;12:40-41.
อรพินธ์ ไตรวนาธรรม การริเริ่มใช้ pantograph ในโรงพยาบาลสมุทรปราการ วารสารวิชาการสาธารณสุข 1995;4:54.
ขจรศิลป์ ผ่องสวัสดิ์กุล ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักเด็กทารกแรกเกิดตั้งแต่ 3000 กรัม ขึ้นไป ที่โรงพยาบาลพะเยา พุทธชินราชเวชสาร 1995;12:11.
ธัชชัย ภัทราคม การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์เสียงสูงในระยะเจ็บครรภ์คลอด โดยการกระตุ้นด้วยเสียง วชิรเวชสาร 1996;40:103.
นภดล ยิ่งชาญกุล ความสัมพันธ์ระหว่างอายุครรภ์และน้ำหนักแรกคลอดของทารกในโรงพยาบาลลำปาง ลำปางเวชสาร 1996;17:216.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 พ.ศ.2535-2539 สำนักนายกรัฐมนตรี
Horpaopan S and Horpaopan L. Perinatal Asphyxia Hypoxic Ischemic Encephalopathy. การประชุมวิชาการ ประจำปี 2537 ชมรมเวชศาสตร์ปริกำเนิด แห่งประเทศไทย:35-38.
Gonzales de Dois j, Moya M. Perinatal asphyxia, hypoxic-ischemic encephalopalopathy and neurological sequelae in ful-term newborn, Revista de Neurologia 1996 jul 24(131): 812-9.
Yu Rj (CT in hypoxia brain damage in asphyxia-prognostic estimation). Chung Huah I Hsueh Ts Chih (Chinese Medical Journal) 1993 Feb;73(2):101-3,128.
สุนทร ฮ้อเผ่าพันธ์ และวรรณรัตน์ ประเสริฐสม Perinatal Asphyxia. ทารกแรกเกิด พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์ 2533:55-64.
Raju TNK. An epidemiologic study of very low birth weight infants. Clin Perinatol 1986;13:233-50.
ทรงฉัตร์ ศิริโยธิพันธุ์ ทารกแรกเกิดที่มีภาวะขาดออกซิเจนในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ กุมารเวชสารก้าวหน้าปีที่ 3 ฉบับที่ 2 พ.ค.-ส.ค. 2539:113-9.
Aldana Valenzuela C-Hernandez Arriaga J (Acute complications in full term neonates with severe neonatal asphyxia). Gynecologia y Obstetricia de Mexico 1995 Mar;63:123-7.
ประพุทธ ศิริปุณย์ ทารกเกิดก่อนกำหนดในทารกแรกเกิด พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์, 2533:66-77.