การศึกษาการเกิดปฏิสัมพันธ์ที่มีความสำคัญสูงของยา ในผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

วัฒนาพรรณ ผลอุดม
สุทธินี คมคาย

บทคัดย่อ

ได้ทำการศึกษาการเกิดปฏิสัมพันธ์ที่มีความสำคัญสูง (potentially important drug interaction) ของยาในผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โดยรวบรวมจากใบสั่งยาผู้ป่วยนอก ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน 2537 โดยเลือกเฉพาะใบสั่งยาที่มี systemic effect ตั้งแต่ 2 รายการขึ้นไป นำเปรียบเทียบกับ 40 คู่ยาที่ทำการศึกษาผลการศึกษาพบความถี่ของการเกิดปฏิสัมพันธ์ของยา 125 ใบ คิดเป็นร้อยละ 0.21 ของใบสั่งยาผู้ป่วยนอกที่อยู่ในเกณฑ์พิจารณาว่าอาจมีโอกาสเกิดปฏิสัมพันธ์ของยา จำนวน 60,137 ใบพบความถี่ของคู่ยามาก 4 คู่ยา คือ theophylline-erythromycin 20 ใบ (ร้อยละ 16), norfloxacin-antacid 19 ใบ (ร้อยละ 15.2), beta-blocker-indomethacin 16 ใบ ร้อยละ12.8), potassium sparing diuretic-KCI 16 ใบ (ร้อยละ 12.8) เมื่อจำแนกตามแผนกตรวจโรค พบว่าเป็นใบสั่งยาจากห้องตรวจอายุรกรรมมากที่สุด (ร้อยละ 87.2) รองลงมาจากห้อง ตรวจเด็ก (ร้อยละ 4.8) ห้องตรวจศัลยกรรม (ร้อยละ 2.4) และห้องตรวจอื่นๆ (ร้อยละ 5.6)

Article Details

How to Cite
ผลอุดม ว., & คมคาย ส. (2025). การศึกษาการเกิดปฏิสัมพันธ์ที่มีความสำคัญสูงของยา ในผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 20(2), 165–172. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/2658
บท
Articles

References

Joseph T. Dipiro. Pharmacotherapy : A Pathophysiological approach, Vol.1 Elsever Science Publishing Co., Inc. 1989 : 67-74

Richard L. Cramer, Deborah V. Sketo, Jeffrey L. Greene, Cynthia A. Wright. A Wright. Drug Interaction Monitoring Program in a Community hospital, Amer. J Hospital Pharm 1992;49 : 627-9

Ivan H. Stockley. Drug interaction : a source book of adverse interaction, their mechanisms, Clinical Importance and management. 1991

James E. Knoben, Philip O. Anderson : Clinical drug data; 7 th edition. 1994 P. 82- 105

Arthur F. Shin & Robert P. Shrewbury. Evaluation of drug interactions. 3nd edition Toronto : The C.V. Mosby Company. 1985