เกี่ยวกับวารสาร
การพิจารณาและการคัดเลือกบทความ
วารสารมนุษยสังคมศาสตร์กำหนดเงื่อนไขการพิจารณาและการคัดเลือกบทความ ดังนี้
- กองบรรณาธิการพิจารณาบทความและแสดงความเห็น “เห็นชอบ” ในเบื้องต้นเกี่ยวกับขอบเขตเนื้อหา รูปแบบการเขียนบทความ และการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการไม่เกินกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) พิจารณาบทความ กรณีที่ผลการพิจารณาไม่ผ่าน กองบรรณาธิการของสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการเผยแพร่บทความนั้น ๆ
- การพิจารณาบทความเป็นรูปแบบ Double blind peer review โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อของผู้พิจารณาบทความจำนวน 3 ท่าน
- บทความจะต้องไม่เคยถูกเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อลงวารสารอื่น
- กรณีที่ผลการพิจารณาให้มีการแก้ไข/ปรับปรุงบทความ ผู้นิพนธ์ต้องทำการแก้ไขจนกระทั้งถูกต้องครบถ้วนภายในกำหนดเวลา หากไม่สามารถแก้ไข/ปรับปรุงได้ตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการรับเผยแพร่บทความนั้น ๆ
- กรณีที่บทความไม่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ ผู้เขียนสามารถนำข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิไปพัฒนาบทความเพื่อเสนอต่อวารสารอื่น ๆ ได้
- กรณีที่ผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นขัดแยงกัน กองบรรณาธิการของสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการเผยแพร่บทความนั้น ๆ
- กรณีที่บทความมีความโดดเด่น สอดคล้องกับประเด็นทางวิชาการหรือสถานการณ์ปัจจุบัน กองบรรณาธิการของสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาเพื่อเผยแพร่เป็นกรณีพิเศษ
- ผู้นิพนธ์เป็นผู้รับผิดชอบทางกฎหมายโดยตรงต่อข้อมูล เนื้อหา ภาพประกอบ และการอ้างอิงเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยกองบรรณาธิการวารสารมนุษยสังคมศาสตร์ไม่ร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น และดำเนินการถอนบทความออกจากการเผยแพร่ของวารสารทันที หากบทความถูกเผยแพร่ทางออนไลน์แล้วพบข้อผิดพลาด ให้ดำเนินการทักท้วงมายังวารสารเพื่อดำเนินการปรับปรุง/แก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
- การเผยแพร่ในวารสารมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยสังคมศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลบางส่วนไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใด ๆ จะต้องทำการอ้างอิงตามหลักสากล หรือในกรณีใช้ข้อมูลทั้งหมด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมนุษยสังคมศาสตร์
- หากบทความได้รับการเผยแพร่ ผู้นิพนธ์จะได้รับค่าตอบแทนจำนวน 1,000 บาทต่อ 1 บทความ
การเตรียมต้นฉบับบทความ
ต้นฉบับบทความต้องจัดพิมพ์ตามรูปแบบที่กำหนด ดังนี้
- ส่วนประกอบของบทความ
1.1 บทความวิจัย ประกอบด้วย
- ชื่อบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ภาษาไทย ขนาด 18 หนา / ภาษาอังกฤษ ขนาด 16 หนา)
- ชื่อ-นามสกุลของผู้นิพนธ์ และผู้ร่วมนิพนธ์
- หน่วยงาน/สังกัด ของผู้นิพนธ์และผู้ร่วมนิพนธ์
- บทคัดย่อ มีความยาว 250 – 300 คำ ต้องมีทั้งบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ผ่านการ proofreading จากผู้เชี่ยวชาญ) บทคัดย่อประกอบด้วย ชื่อเรื่องและที่มาของเนื้อหาในบทความ วัตถุประสงค์ของงานวิจัย วิธีการวิจัย ผลวิจัย การอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ และคำสำคัญไม่เกิน 5 คำ จัดเรียงตามตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และคั่นด้วยเครื่องหมาย (,)
- บทนำ ประกอบด้วย ที่มาและความสำคัญ โจทย์/ปัญหาวิจัย (ถ้ามี) การทบทวนวรรณกรรม (แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และงานวิจัยที่ผ่านมา)
- วัตถุประสงค์การวิจัย ที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาในบทความ
- วิธีการวิจัย ประกอบด้วย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิจัย การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูล และการตรวจสอบข้อมูล
- ผลการวิจัย นำเสนอข้อมูลสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ โดยการเขียนบรรยายประกอบรูปภาพ แผนผัง ตาราง ตามความเหมาะสมพร้อมคำอธิบายโดยสังเขป
- การอภิปรายผล สรุปผลวิจัยสำคัญที่ค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้ อธิบายหรือตีความผลวิจัยให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น โดยให้เหตุผลแก่ผลการทดลอง นำแนวคิด ทฤษฎี และผลวิจัยมาสนับสนุน วิเคราะห์หรือสังเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อนำเสนอความสอดคล้องหรือขัดแย้งกับทฤษฎีและผลวิจัยของผู้อื่น เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจหรือองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับบทความ หรือนำเสนอแนวทางการสร้างสรรค์ ความคิดริเริ่ม หรือแนวคิดทางนวัตกรรม ที่นำไปสู่งานวิจัยในอนาคตหรือการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
- ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประโยชน์ในการประยุกต์ผลวิจัย เสนอแนะแนวทางการวิจัยที่ควรทำต่อไป
- การอ้างอิง ประกอบด้วย การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) และบรรณานุกรม (References) ในรูปแบบ APA (American Psychological Association) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบและรับผิดชอบต่อความถูกต้องของการอ้างอิงทั้งหมด บรรณานุกรมแบ่งเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยจัดเรียงตามตัวอักษร
1.2 บทความวิชาการ ประกอบด้วย
- ชื่อบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ภาษาไทย ขนาด 18 หนา / ภาษาอังกฤษ ขนาด 16 หนา)
- ชื่อ-นามสกุลของผู้นิพนธ์ และผู้ร่วมนิพนธ์
- Email ของผู้นิพนธ์และผู้ร่วมนิพนธ์
- หน่วยงาน/สังกัด ของผู้นิพนธ์และผู้ร่วมนิพนธ์
- บทคัดย่อ มีความยาว 250 – 300 คำ ต้องมีทั้งบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ผ่านการ proofreading จากผู้เชี่ยวชาญ) บทคัดย่อประกอบด้วย ความเป็นมาของบทความ ผลการศึกษา และสรุปความของผู้เขียนในเชิงวิชาการ และคำสำคัญไม่เกิน 5 คำ จัดเรียงตามตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และคั่นด้วยเครื่องหมาย (,)
- บทนำ ประกอบด้วย ที่มาและความสำคัญ จุดมุ่งหมายของการเขียนบทความ การศึกษาหรืองานวิจัยที่ผ่านมา และความน่าสนใจของบทความวิชาการ
- เนื้อหา นำไปสู่การก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ โดยผู้นิพนธ์ต้องดำเนินงานเขียนให้ครอบคลุมถึงจุดมุ่งหมายของเรื่องที่ศึกษา โดยการเขียนบรรยายประกอบรูปภาพ แผนผัง ตาราง ตามความเหมาะสมพร้อมคำอธิบายโดยสังเขป
- สรุป สรุปผลการศึกษาสำคัญที่ค้นพบจากการเขียนบทความครั้งนี้ อธิบายหรือตีความผลการศึกษาให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น โดยให้เหตุผลแก่ผลการทดลอง นำแนวคิด ทฤษฎี และผลวิจัยของผู้อื่นมาสนับสนุน วิเคราะห์หรือสังเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อนำเสนอความสอดคล้องหรือขัดแย้งกับทฤษฎีและผลวิจัยของผู้อื่น เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจหรือองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับบทความ หรือนำเสนอแนวทางการสร้างสรรค์ ความคิดริเริ่ม หรือแนวคิดทางนวัตกรรม ที่นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
- การอ้างอิง ประกอบด้วย การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) และบรรณานุกรม (References) ในรูปแบบ APA (American Psychological Association) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบและรับผิดชอบต่อความถูกต้องของการอ้างอิงทั้งหมด บรรณานุกรมแบ่งเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยจัดเรียงตามตัวอักษร
- รูปแบบการพิมพ์
- ในกรณีบทความภาษาไทยใช้ชุดแบบอักษรชนิดไทยสารบรรณ (TH Sarabun PSK) ขนาด 14 ปกติ (หัวข้อขนาด 16 หนา)
-ในกรณีบทความภาษาอังกฤษใช้ชุดแบบอักษรชนิด Times New Roman ขนาด 10 ปกติ (หัวข้อขนาด 12 หนา)
- กระดาษขนาด A4 และกำหนดการตั้งหน้า บน 3.25 ซ.ม. ล่าง 2.75 ซม. ซ้าย 3 ซ.ม. และขวา 3.25 ซ.ม.
- ระยะห่างระหว่างบรรทัด ภาษาไทยกำหนด Single line ภาษาอังกฤษกำหนด 1.5 lines
- ความยาวของบทความไม่เกิน 10 หน้า รวมรูปภาพ แผนผัง ตาราง และบรรณานุกรม
- ถ้ามีรูปภาพประกอบ ใช้ภาพที่มีความละเอียด 300 dpi ระบุคำว่า “ภาพที่.....” จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ภาพ พร้อมระบุลำดับภาพและคำอธิบายภาพโดยสังเขป บรรทัดถัดมาระบุ “ที่มา.....” (ในกรณีรูปภาพเป็นของผู้นิพนธ์ ระบุชื่อ-นามสกุลของผู้นิพนธ์)
- ถ้ามีตารางประกอบ ข้อความในตารางสามารถใช้ขนาดอักษร 12 – 14 ปกติ ระบุคำว่า “ตารางที่....” ด้านบนของตารางและจัดข้อความชิดซ้ายของตาราง พร้อมระบุลำดับตารางและคำอธิบายตารางโดยสังเขป และที่มาของตาราง (ในกรณีตารางเป็นของผู้นิพนธ์ ไม่ต้องระบุอ้างอิง)