ศิลปะบนผืนผ้า มนต์เสน่ห์แห่ง “ผ้าโขมพัสตร์” อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • เวชกร ตาลวันนา มหาวิทยาลัยเมธารัถย์

คำสำคัญ:

ผ้าโขมพัสตร์, เอกลักษณ์ท้องถิ่น

บทคัดย่อ

ผ้าเป็นศิลปะ และวัฒนธรรม ที่บ่งบอกถึงภูมิปัญญาผ่านกระบวนความคิด กรรมวิธีการผลิตลวดลาย รูปแบบ จนพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ มีอัตลักษณ์สามารถบ่งชี้ถึงถิ่นฐาน ท้องถิ่น ชาติพันธุ์ “ผ้าโขมพัสตร์”  อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความโดดเด่น บอกเล่าเรื่องราวอันยาวนานเป็นภาพตัวแทนของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง ชิ้นงานมีความพิถีพิถัน มีเอกลักษณ์เฉพาะบ่งบอกถึงความเป็นไทยและเมื่อนึกถึงสินค้าหัตถกรรมของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเป็นสินค้าของซื้อของฝาก ลำดับแรกเมื่อมาเที่ยวหัวหิน อีกทั้งผ้าโขมพัสตร์เป็นส่วนหนึ่งของการประกวดเวทีระดับชาติ และเวทีระดับโลก เป็นการเชื่อมโยงว่าเป็นตัวแทนทางศิลปะ และวัฒนธรรมของชาติ ผ่านการประดิษฐ์สร้างสรรค์แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศได้อย่างสง่างาม

References

กฤษฎา พิณศรี และคณะ. (2536). ความสัมพันธ์ระหว่างลวดลายที่ปรากฏบนผ้าพิมพ์ กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี: กรณีศึกษาเฉพาะผ้าพิมพ์ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร. งานวิจัยสำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

ประเทือง ทองรอด. (2554). ผ้าเกี้ยวทองเอกสารประกอบการบรรยายสรุปผ้าเกี้ยวทองและการแต่งกาย ด้วยผ้าเกี้ยวทอง (หน้า 5). โรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย).

นวนันทน์ ศรีสุกใส และคณะ (2558). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าโขมพัสตร่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 11(3), 15-23.

ยศพร บรรเทิงสุข. (2556). การวิจัยแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิม โดยการมี ส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นที่ชุมชนบ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัลลภ ทองอ่อน. (2536). พัฒนาการการผลิตและบทบาทหน้าที่ทางสังคมของผ้าไหมสันกำแพง.

กรุงเทพมหานคร: โครงการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. (2552). เผยแนวคิดนักออกแบบนางงามชุดประจำชาติ. วันที่ค้นข้อมูล 1 เมษายน 2565,

เข้าถึงได้จาก https://women.kapook.com/view2232.html

อัจฉราพร ไศละสูต. (2526). การออกแบบลายผ้าและเทคนิคการพิมพ์. กรุงเทพมหานคร :

ศูนย์หนังสือกรุงเทพมหานคร.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2556). พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน.

ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2547). ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกฉบับสมบูรณ์. มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.

สายพิน แก้วงามประเสริฐ. (2538). ท้าวสุรนารี อนุสาวรีย์ 'สามัญชน' คนแรกในระบอบ

ประชาธิปไตย. ศิลปวัฒนธรรม, 17(2), 200-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-31