แนวคิดการใช้ศิลปะพัฒนาชีวิตผู้สูงวัยในภาวะสังคมผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • พนิดา ภู่งามดี สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

คำสำคัญ:

ภาวะสังคมผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต, ศิลปะบำบัด

บทคัดย่อ

“ภาวะสังคมผู้สูงอายุ” กำลังเป็นประเด็นที่ในหลายประเทศต้องตระหนักถึงผลกระทบและกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาตามปัจจัยเอื้ออำนวยในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้น  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2564 โครงสร้างประชากรของไทยมีแนวโน้มเข้าสู่งสังคมผู้สูงอายุเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก การเพิ่มจำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุจะส่งผลกระทบต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรของประเทศในอนาคต แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่หน่วยงานภาครัฐ ได้ดำเนินการแก้ปัญหาจากสภาพการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ`เพื่อป้องกันผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในระยะต่อไป ทั้งนี้ กิจกรรมประเภทหนึ่งที่สามารถนำมาพัฒนาชีวิตผู้สูงวัยในภาวะสังคมผู้สูงอายุได้ คือ “ศิลปะบำบัด” เนื่องจาก “ศิลปะ” เป็นสื่อในการแสดงออกของอารมณ์และความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ภายในส่วนลึกของจิตใจที่ไม่สามารถแสดงออกเป็นคำพูดได้ โดยศิลปะบำบัดเป็นแนวคิดที่เน้นกระบวนการทางศิลปะ และการเลือกใช้เครื่องมือทางศิลปะ รวมทั้งเน้นที่กระบวนการสร้างผลงานมากกว่าตัวผลงานเพื่อนำมาบำบัดรักษาผู้ป่วยให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาของแต่ละคนที่แตกต่างกัน  เมื่อพิจารณาสาระสำคัญเกี่ยวกับประโยชน์ของศิลปะบำบัดรวมทั้งผลการวิจัยของบาแกน  (Barbara Bagan, 2021 : abstract) ที่ระบุว่า กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่จัดให้แก่ผู้สูงอายุนั้นมีประโยชน์หลายด้าน เช่น การกระตุ้นการทำงานของสมอง การปรับสภาพอารมณ์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ในฐานะที่เป็นนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะ จึงมีแนวคิดว่า การกำหนดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุนั้น นอกจากจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมให้ความรู้เชิงวิชาการแล้ว  ยังต้องเป็นกิจกรรมมีลักษณะเพลิดเพลินและสามารถฝึกทักษะทางกายภาพรวมทั้งส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้น จึงควรนำกิจกรรมทางด้านศิลปะ มาใช้เป็นกิจกรรมประเภทหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในกระบวนการจัดกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐอย่างจริงจัง

References

จิราภา เต็งไตรรัตน์. (2543). จิตวิทยาทั่วไป. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์. (2543). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

วนิดา ขำเขียว. (2543). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พรานนกการพิมพ์.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2535ก). ศิลปะและความงาม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สกนธ์ ภู่งามดี. (2545ก). ศิลปะเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.

_______. (2545ข). จิตวิทยากับการออกแบบ. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.

_______. (2547). ธุรกิจศิลปะ กรุงเทพฯ: มายบุ๊คส์ พับบลิชิ่ง

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2538). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุภางค์ จันทวานิช. (2547). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bauhaus-Archiv Museum fur Gestaltung.. (2002). Bauhaus. Berlin : Taschen GmbH.

Cobuild, Collins. (1992). English language dictionary. New York: Harper Collins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31