แนวทางการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ผึ้งโพรงของชุมชนในจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ณวิญ เสริฐผล หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การสร้างจิตสำนึก, การอนุรักษ์, ผึ้งโพรง

บทคัดย่อ

ถึงแม้ผึ้งโพรงเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมทางสังคม และความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศแต่ชุมชนหลายแห่งยังขาดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของผึ้งโพรงอย่างมาก เพราะชุมชนหลายแห่งมีการไล่หรือฆ่าผึ้งโพรงโดยการเผาป่า ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของผึ้งโพรง ส่งผลให้ประชากรผึ้งโพรงลดลง เช่น ชุมชนในจังหวัดพะเยา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีคำถามว่า แนวทางการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ผึ้งโพรงของชุมชนในจังหวัดพะเยาที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร เพื่อให้ชุมชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของผึ้งโพรง ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ผึ้งโพรงอย่างแท้จริง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ผึ้งโพรงของชุมชนในจังหวัดพะเยา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทบกวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม (focus group) กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รู้ที่สำคัญ (key informants) จำนวน 60 คน ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงผึ้งโพรงทั้งหมด จากชุมชนในจังหวัดพะเยา 2 ชุมชน คือ ชุมชนบัว กับ ชุมชนงาม (ทั้ง 2 ชุมชนเป็นชื่อสมมุติ) ผลการวิจัย พบว่า แนวทางในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ผึ้งโพรง มี 8 ประการ ดังนี้ 1) การสร้างการรับความรู้เกี่ยวกับผึ้งโพรง 2) การรวมกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งโพรง 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับผึ้งโพรง 4) การสร้างระบบพี่เลี้ยงผึ้งโพรง 5) การส่งเสริมการตลาดผึ้งโพรง 6) การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาในการเลี้ยงผึ้งโพรง 7) การสร้างข้อตกลงในการเลี้ยงผึ้งโพรง 8) การสร้างการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับผึ้งโพรง

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2556). คู่มือปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เรื่อง องค์ความรู้เพิ่ม

ประสิทธิภาพการผลิตสู่การเป็น smart officer : ผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์. (2553). การรับรู้พฤติกรรมที่มีต่อจิตสานึกสาธารณะและการสื่อสารการตลาด ที่มี

ประสิทธิภาพต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับจิตสานึกสาธารณะของ เยาวชน. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิรวรรณ คุ้มพร้อม สำลีพันธ์. (2560). ผลการจัดการสอนแบบทีมต่อการสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะของ

นักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์.

พิชัย คงพิทักษ์. (2554). เทคนิคการเลี้ยงผึ้งโพรงเพื่อเพิ่มประชากรและจำนวนรังผึ้ง. รายงานผลการ

ดําเนินงานโครงการคลินิกเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2554. ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บุณยืน จิราพงษ์. (2536). ชีววิทยาสิ่งแวดล้อม. พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญยืน ทูปแป้น และคณะ. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสานึกสาธารณะในการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเยาวชนชุมชนต้นน้าแม่ลาวจังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2561.

ปรีดีนุกุล สมปรารถนา. (2559). การศึกษาประสบการณ์จิตสำนึกร่วมชุมชน และความผูกพันที่มีต่องาน

มหกรรม. หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปีการศึกษา 2559.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2563). การพัฒนาหลักสูตร “รักษ์ป่าน่าน” เพื่อเสริมสร้างจิตสานึกต่อการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมของนักเรียนในสถานศึกษาจังหวัดน่าน โดยเครือข่ายความร่วมมือของชุมชน. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม -ธันวาคม 2563.

รื่นฤดี ชัยอำมาตย์. (2550). จิตสำนึกของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ที่มีต่อแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รุ่งอรุณ อ้นสุดใจ เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ และจินดา ขลิบทอง. (2561). การส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกร

ผู้เลี้ยงผึ้ง ในจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี. การประชุมเสนอผลงานระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 จากเว็บไซต์ https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters/pdf

วนศิลป์ เจริญสุข และคณะ. (2565). ภูมิปัญญาในการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยแบบโฮมสเตย์ กรณศึกษาศูนย์บริการ

และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม –เมษายน 2565)

วิจิตรา กาวิชัย และคณะ. (2564). แนวคิดการจัดการเรียนรู้สาระภูมิศาสตร์แบบการคิดเชิงพื้นที่เพื่อส่งเสริม

จิตสํานึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่สูงของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 สิงหาคม 2564.

ศูนย์ข่าวกรมส่งเสริมการเกษตร. (2565). กรมส่งเสริมการเกษตรชู “น้ำผึ้ง” หนึ่งผลิตภัณฑ์บำรุงสุขภาพ

มวลมนุษยชาติ เดินหน้าเสริมรู้ผู้เลี้ยงผึ้ง-เชื่อมโยงเครือข่ายผลิตและตลาด พร้อมต่อยอดธุรกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 อ้างอิงจากเว็บไซต์ https://doaenews.doae.go.th/archives/12947

สาโรจน์ พานิชชานนท์ และคณะ. (2554). จิตสำนึกและพฤติกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ อันเกิดจาก

การมีส่วนร่วมในโครงการตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง หมู่บ้านป่าละอูในโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 7 เล่มที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2554.

สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร. (2560). ข้อมูลพื้นฐานสินค้าเกษตรปี 2559/2560. สำนักงานเศรษฐกิจ

การเกษตร กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). สรุปสาระสำคัญจากรายงาน การ

ประเมินผู้ผสมเกสร การผสมเกสรกับการผลิตอาหาร. กรุงเทพมหานครฯ. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส พี ก็อปปี้ ปริ้น.

สำเนา หมื่นแจ่ม. (2564). การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นชาเมี่ยงป่าแป๋ผ่านการบูรณาการ

การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กันยายน–ธันวาคม 2564.

อรวรรณ ดวงภักดี และคณะ. (2564). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนามูลค่าเพิ่มในน้ำผึ้งและ

ผลิตภัณฑ์จากผึ้งพื้นเมืองในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา และคณะ. (2560). รูปแบบการสร้างจิตสำนึกท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ป่าชุมชนอย่าง

ยั่งยืน ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560.

UN Global Compact Network Thailand. (2022). พืชพรรณอาหารขาดแคลน เมื่อไทยปราศจาก ‘ผึ้ง’

และ‘แมลง’. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 อ้างอิงจากเว็บไซต์ https://globalcompact-th.com/WorldBeeDay

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-03