ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการก่อความรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชที่เข้ารับการรักษาในผู้ป่วยในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

ผู้แต่ง

  • สุขุมาลย์ เล็กมีชัย กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาจ.กาญจนบุรี

คำสำคัญ:

โรคทางจิตเวช, ผู้ป่วยใน, ก้าวร้าว, ความรุนแรง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพฤติกรรมการก่อความรุนแรงในผู้ป่วยโรคจิตเวช ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง ประชากรเป็นผู้ป่วยโรคจิตเวชทั้งวินิจฉัยหลักและ  วินิจฉัยร่วมที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาระหว่าง 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบมีชั้นภูมิจำนวน 349 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไควสแควร์หรือการทดสอบของฟิชเชอร์ และการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก

ผลการวิจัย: จากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในจำนวน 349 คน พบพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงจากการประเมิน Overt Aggression Scale อยู่ในระดับฉุกเฉิน 71 คน (ร้อยละ 20.3) ระดับเร่งด่วน 26 คน (ร้อยละ 7.4) และระดับกึ่งเร่งด่วน 252 คน (ร้อยละ 72.2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมก่อความรุนแรง ในผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ เพศชาย อายุต่ำกว่า 40 ปี สถานภาพโสดไม่ได้ประกอบอาชีพ ได้รับการการวินิจฉัยโรคทางจิตเวชเป็นโรคหลักในการเข้ารับการรักษา มีการใช้สารเสพติดร่วม และมีประวัติความเสี่ยงสูงต่อพฤติกรรม การก่อความรุนแรง

สรุปผล: แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโรคทางจิตเวชควรสนใจและตระหนักถึงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการก่อความรุนแรงก้าวร้าวของผู้ป่วย เพื่อที่จะสามารถประเมินความเสี่ยง เลือกวิธีจัดการรวมทั้งให้การช่วยเหลือในด้านที่เหมาะสมได้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงในระหว่างการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและหลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล

References

Center for Behavioral Health Statistics and Quality. Results from the 2012 National Survey on Drug Use and Health: Mental Health Findings. Rockville, MD: Substance Abuse and Mental Health Services Administration, 2013.

สำนักยุทธศาสตร์ กรมสุขภาพจิต. แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิต ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dmh.go.th

Fozel S, Langstrome N, Hjern A, Grann M, Lichtenstein P. (2009). Schizophrenia, substance abuse, and violence crime. JAMA. 2009;301(19):2016-23.

ศูนย์สารสนเทศ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา [ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถิติผู้ป่วย. กาญจนบุรี: โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา; 2564.

ศูนย์สารสนเทศ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา [ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถิติผู้ป่วย. กาญจนบุรี: โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา; 2565.

Robert S, Charles E, Stephen M, Scott D.A data science approach to predicting patient aggressive events in a psychiatric hospital. Psychiatry Research. 2018;268:217-22.

เพชรี คันธสายบัว, วัฒนาภรณ์ พิบูลอาลักษณ์, กฤตนัย แก้วยศ, วีระ เนริกูล. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรุนแรงในผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2563;14(2):16-28.

เวนิช บุราชรินทร์, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2011;25(3):24-37.

Yamane T. Statistics: an introductory analysis. 3rded. New York: Harper International Edition; 1973.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัยที่ใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์, 2552.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อพฤติกรรมการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัสพลัส, 2561.

Amore M, Menchetti M, Tonti C, Scarlatti F, Lundgren E, Esposito W, Berardi D. Predictors of violent behavior among acute psychiatric patients: clinical study. Psychiatry Clin Neurosci. 2008;62(3):247-55.

Dack C, Ross J, Papadopoulos C, Stewart D, Bowers L. A review and meta-analysis of the patient factors associated with psychiatric in-patient aggression. Acta Psychiatr Scand. 2013;127(4):255-68.

Bruce M, Laporte D. Childhood trauma, antisocial personality typologies and recent violent acts among inpatient males with severe mental illness: exploring an explanatory pathway. Schizophr Res. 2015;162(13):285-90.

Allnutt SH, Ogloff JR, Adams J, et al. Managing aggression and violence: the clinician’s role in contemporary mental health care. Aust N Z J Psychiatry. 2013;47(8):728-36.

สุกัญญา ละอองศรี, บัววรุณ ศรีชัยกุล, นพดล พิมพ์จันทร์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชชุมชนตำบลไผ่อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา. 2560;23(2):68-79.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-23