ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยแผลที่กระจกตาเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

ผู้แต่ง

  • เตือนใจ ทวีระวงษ์ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
  • ณัฎฐ์ศิกา ใคร่ครวญ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
  • ผจงวรรณ อดุลยศักดิ์ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยแผลที่กระจกตา, ระยะวันนอน, ภาวะแทรกซ้อน, ค่ารักษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยแผลที่กระจกตาเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ระยะเวลาวันนอน การเกิดภาวะแทรกซ้อน และค่ารักษาพยาบาล

วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มวัดผลก่อนและหลังกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 86 ราย ระหว่าง 1 กันยายน 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567 ดำเนินการวิจัยในกลุ่มควบคุมก่อนโดยรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากระบบข้อมูลโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเดิม จากนั้นจึงดำเนินการในกลุ่มทดลองแบบไปข้างหน้า โดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยแผลที่กระจกตา ข้อมูลที่ต้องการศึกษา ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ประวัติการเจ็บป่วย ระยะเวลาวันนอน ภาวะแทรกซ้อน และค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติการทดสอบค่าทีแบบเป็นอิสระต่อกันและการทดสอบไควสแควร์

ผลการวิจัย: ระยะเวลาวันนอนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (9.41±8.34 และ 13.00±12.78 วัน; p=0.032) สัดส่วนการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากแผลที่กระจกตาของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ7.0 และ 25.6; p=0.029) ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยของผู้ป่วยกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน (14,078.99±12,472.01 และ 10,556.19±10,142.64 บาท; p=0.215)

สรุปผล: แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยแผลที่กระจกตาเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยแผลที่กระจกตาในโรงพยาบาลอื่นที่บริบทคล้ายกันได้

References

Pascolini D, Mariotti SP. Global estimates of visual impairment. Br J Ophthalmol. 2012;96(5):614-18.

แผนกจักษุวิทยาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย.กระจกตาติดเชื้อ[อินเทอร์เน็ต]. 2554. [เข้าถึงเมื่อ 12 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://eldercareethailand.com/eldercare/content.

บุศราคำ วิรบุตร์, ปภาวีร์ พลายงาม. การเกิดแผลติดเชื้อในกระจกตาของผู้ป่วยโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์(วัดไร่ขิง). รายงานการวิจัยโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). 2553;2(1):15-17.

Kampitak K, Patrasuwan S, Kongsomboon K. Cost evaluation of corneal ulcer treatment. J Med Assoc Thai. 2013;96(4):456-59.

กนกวรรณ หอมจันทนากุล. การพยาบาลผู้ป่วยแผลกระจกตาที่ได้รับการปลูกถ่ายกระจกตา: กรณีศึกษาโรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2022;7(2):1-10.

กษมา เสวราภี.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วย corneal ulcer โดยใช้ specific clinical risk และ criteria point. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2559;2(2):114-17.

ดวงฤดี แสงทิพย์, ญาณิศาศิริพันธ์, เพ็ญพิชชา สมัย, พิมพรรณ เวียงชัย. ลักษณะแผลการพยากรณ์โรคและผลการรักษาผู้ป่วยกระจกตาดำเป็นแผลที่มารับการรักษาช้า. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2554;19(1):117-24.

นงเยาว์ รุ่งพิบูลโสภิษฐ์. แผลติดเชื้อที่กระจกตาในโรงพยาบาลกำแพงเพชร. วารสารโรงพยาบาลกำแพงเพชร. 2550;11(1):33-41.

วิศรุตา วุฑฒยากร. แผลติดเชื้อที่กระจกตาที่จำเป็นต้องรักษาแบบผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลสวรรค์ ประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2562;16(3):79.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-24