ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลตนเองและทารกของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

ผู้แต่ง

  • อนุชนันท์ กสานติกุล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
  • ผจงวรรณ อดุลยศักดิ์ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

คำสำคัญ:

โปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลตนเองและทารก, มารดาวัยรุ่นหลังคลอด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้และทักษะการดูแลตนเองและทารกของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่ได้รับโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะการดูแลตนเองและทารก

วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว ดำเนินการวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีที่มาพักฟื้นหลังคลอดและรับบริการตรวจหลังคลอด 4 สัปดาห์ในแผนกสูตินรีเวชกรรมโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา คัดกลุ่มตัวอย่างเข้าศึกษาตามคุณสมบัติที่กำหนดแบบเจาะจงจำนวน 45 ราย กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะการดูแลตนเองและทารกเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้และทักษะการดูแลตนเองและทารกก่อนและหลังการใช้โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเปรียบเทียบ Paired t-test

ผลการวิจัย: ด้านความรู้โดยภาพรวม พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด หลังการใช้โปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้โดยรวม (=0.90, S.D.=0.04) สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะ (=0.67, S.D.=.08) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=20.428) และด้านทักษะโดยภาพรวม พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด หลังการใช้โปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะโดยรวม(=3.34, S.D.=0.22) สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะ (=1.56, S.D.=.41) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05(t=31.961)

สรุปผล: โปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะการดูแลตนเองและทารกของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ช่วยเพิ่มความรู้และทักษะการดูแลตนเองและทารกของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ดังนั้นหน่วยงานจึงควรนำโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะการดูแลตนเองและทารก ไปประยุกต์ใช้เป็นมาตรฐานการพยาบาลในหน่วยงาน ตลอดจนต่อยอดงานวิจัยการส่งเสริมความรู้และทักษะในมารดาหลังคลอดต่อไป

References

วิไลวรรณ สวัสดิพานิชย์. การพยาบาลมารดาหลังคลอด.พิมพ์ครั้งที่ 7. ชลบุรี: ชลบุรีศรีศิลปะการพิมพ์; 2542.

จันทนาภรณ์ เกตุสมพร, วิรตรี ชุนประเสริฐ, กัญญา แก้วมณี, ปิยนุช สายสุขอนันต์, บุศรินทร์ สัตยาประเสริฐ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสอนสุขศึกษาต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของมารดาในระยะหลงัคลอด. วารสารพยาบาลศิริราช. 2550;1(1):15-24.

Bloom, Benjamin S. Taxonomy of Education Objective Handbook I: Cognitive Domain. New York: David McKay Company; 1974.

Vechayansringkarn W. Pregnancy outcomes in primiparous pregnant teenagers in Bangyai hospital. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center. 2012;29(2):82-91.

มนตรา พันธฟัก, ศรีสมร ภูมนสกุล, อรพินธ์ เจริญผล. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดาต่อความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารก ความพึงพอใจในบทบาทของมารดา ความสามารถในการเรียนรู้พฤติกรรมทารกและการเจริญเติบโตของทารก. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2552;15(2):149-61.

Orem DE. Nursing concepts of practice. St Louis: Mosby-Year Book; 1991.

วรัญญา ชลธารกัมปนาท, จันทิมา ขนบดี. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและทารกแรกเกิดของมารดาครรภ์แรก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี. 2561;29(1):29-41.

ชุดาณัฏฐ์ ขุนเพชร. การดำเนินชีวิตของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดบุตรคนแรก. [ปริญญานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 20 ต.ค. 2566]. เข้าถึงจาก: https://rh.anamai.moph.go.th/th/cms-of-1/211184

กุสุมา มีศิลป์, นิธิกุล เต็มเอี่ยม, พงศ์ศิริ ชิดชม.การศึกษาลักษณะทางสังคมและผลลัพธ์ทางสูติกรรมแม่วัยรุ่นโรงพยาบาลศรีสะเกษ ปี 2563. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2563;38(1):211-7.

แสงจันทร์ สุนันต๊ะ, ฉวีวรรณ อยู่สำราญ, วรรณา พาหุวัฒนกร. ผลของการให้ความรู้และการสนับสนุนมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกและยายต่อความสำเร็จในการดำรงบทบาทการเป็นมารดา. วารสารพยาบาลทหารบก. 2559;17(2):125-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-24