การประยุกต์ใช้บริการเภสัชกรรมทางไกลในผู้ป่วยที่ใช้ยาสูดพ่นในภาวการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19

ผู้แต่ง

  • สุวภัค วงษ์เวียงจันทร์ กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ เป็นผู้ป่วยกลุ่มที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่ได้รับยาสูดพ่นซึ่งจำเป็นต้องมีเทคนิคพิเศษในการใช้  แต่ในภาวการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  ผู้ป่วยได้รับผลกระทบในการเข้าถึงการรับบริการที่ได้มาตรฐาน เช่น การตรวจสมรรถภาพปอด  การประเมินเทคนิคการใช้ยาสูดพ่น  เนื่องจากต้องมีการเว้นระยะห่าง  ลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อระหว่างบุคลากรและผู้ป่วยรายอื่น  การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ในการวางแนวทางและปรับขั้นตอนการให้บริการในระบบเดิมที่ผู้ป่วยมารับบริการในคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่โรงพยาบาล เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการบริบาลทางเภสัชกรรมด้วยระบบเภสัชกรรมทางไกล โดยทำการศึกษาในผู้ป่วย 60 ราย ที่มารับบริการที่คลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 จังหวัดกาญจนบุรี ผลการศึกษาพบว่ามีกลุ่มผู้ป่วยที่มีความพร้อมของอุปกรณ์สื่อสาร แอพพลิเคชั่นและสัญญาณอินเตอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 55 (n=33)  สามารถเข้าถึงงานบริบาลเภสัชกรรมได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 69.7 (n = 23)พบว่าการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล ช่วยในการค้นหาปัญหาจากการใช้ยาได้เพิ่มขึ้น 35 ปัญหาเพิ่มเติมจากการให้บริการแบบเดิมที่ผู้ป่วยมารับบริการที่โรงพยาบาล 11 ปัญหา ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19  โดยปัญหาจากการใช้ยาที่พบเพิ่มขึ้นเป็นเรื่องของเทคนิคในการใช้ยาสูดพ่นที่ไม่ถูกต้อง ร้อยละ 71.43 โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่เป็น metered dose inhaler ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการประเมินการใช้ยาสูดพ่นที่โรงพยาบาลช่วงที่มีการแพร่ระบาด  หลังจากการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลในครั้งที่ 1 พบว่ามีผู้ป่วยที่มีปัญหาในการใช้ยาและต้องการติดตามซ้ำจำนวน 17 ราย แต่มีผู้ป่วยต้องออกจากการศึกษา 10 ราย  เนื่องจากจากสาเหตุหลักในเรื่องความไม่สะดวกด้านเวลาในการวิดิโอคอลของผู้ป่วยและผู้ดูแลที่ต้องทำงานประจำ ผลการให้บริบาลทางเภสัชกรรมทางไกลสามารถลดปัญหาจากการใช้ยาได้ร้อยละ 73.68 ทำให้เห็นแนวโน้มว่าการประยุกต์ใช้การให้บริการเภสัชกรรมทางไกล  สามารถช่วยค้นหาปัญหาจากการใช้ยาได้เพิ่มเติมจากระบบเดิม  และลดปัญหาจากการใช้ยาลงได้  ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการที่ได้มาตรฐานมากขึ้น ในภาวการณ์ที่มีการแพร่ระบาด

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานผลการทบทวนผลกระทบของ COVID–19 ต่อระบบบริการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กรมควบคุมโรค. ตุลาคม 2564.

กรุงเทพธุรกิจ [อินเทอร์เน็ต]. Telemedicine" ตัวช่วยผู้ป่วยโรคหืด เข้าถึงการรักษา ยุค New Normal. 28 ต.ค. 2564 [16 พ.ย. 2564]. https://www.bangkokbiznews.com/social/968446

ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์ และ อาณัติ สกุลทรัพย์ศิริ. การบริบาลทางเภสัชกรรมและการจัดการด้านยา [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [13 ต.ค. 2563]. https://chulappep.com/tmpUploads/2.%20การบริบาลทางเภสัชกรรมและการจัดการด้านยา.pdf

ปรีชา มนทกานติกุล. การให้การบริบาลทางเภสัชกรรมอย่างเป็นระบบ. ใน: เฉลิมศรี ภุมมางกูร, กฤตติกา ตัญญะแสนสุข, บรรณาธิการ. โอสถกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: นิวไทยมิตรการพิมพ์; 2547. หน้า35-56.

ปรุฬห์ รุจนธำรงค์. Telepharmacy: ความหมายและประเภท. 28 ส.ค. 2563 [23 พ.ย. 2564].

https://wizsastra.com/2020/08/28/telepharmacy/

ปรุฬห์ รุจนธำรงค์. Telepharmacy: มาตรฐานและแนวปฏิบัติ. 31 ต.ค. 2563 [23 พ.ย. 2564].

https://wizsastra.com/2020/10/31/telepharmacy-2/

สภาเภสัชกรรม [อินเทอร์เนต]. นนทบุรี: สํานักงานเลขาธิการสภาเภสัชกรรม; 2563. ประกาศสภาเภสัชกรรมที่ 56/2563 เรื่อง การกําหนดมาตรฐานและขั้นตอนการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy); 2563 [23 ก.ย. 2564].

https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail&menuid=68&itemid=1846&catid=0

สภาเภสัชกรรม [อินเทอร์เนต]. นนทบุรี: สํานักงานเลขาธิการสภาเภสัชกรรม; 2562. คู่มือทักษะตามเกณฑ์ความรู้ความสามารถทางวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม (สมรรถนะร่วม); 2562 [23 ก.ย. 2564]; น.125-134.

https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail&menuid=0&itemid=1433&catid=1

Bynum A, Hopkins D. Thomas A, Copeland N, Irwin C. The effect of telepharmacy counseling on metered-dose inhaler technique among adolescents with asthma in rural Arkansas. Telemed Je Health. 2001;7(3):207-17.

กฤษฏ์ วัฒนธรรม และคณะ. รูปแบบการดำเนินกิจกรรมและผลลัพธ์การให้บริการเภสัชกรรมทางไกล. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2564;17(3):1-15.

Young HN, Havican N, Griesbach S, Thorpe JM, Chewning BA, Sorkness CA. Patient and pharmacist telephonic encounters (PARTE) in an underserved rural patient population with asthma:results of a pilot study. Telemed Je Health. 2012;18(6):427-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31