ผลกระทบของการฉีดคอร์ติโตสเตียรอยด์เข้าข้อเข่าต่อการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ฉีดในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
บทคัดย่อ
โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นสาเหตุของอาการปวดเข่าเรื้อรัง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและอาจก่อให้เกิดภาวะทุพลภาพในบางราย การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าข้อเข่าเพื่อบรรเทาอาการปวดจากภาวะข้อเข่าเสื่อมได้มีการนำมาใช้รักษาผู้ป่วยเป็นเวลายาวนาน อย่างไรก็ตามมีข้อขัดแย้งในเรื่องประโยชน์และความปลอดภัยต่อผู้ป่วยโดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียมเช่น การติดเชื้อรอบข้อเข่าเทียม วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลต่อผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดข้อเข่าเทียมภายหลังได้รับการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าข้อเข่า เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับการฉีดในคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
วิธีการศึกษา เป็นการเก็บข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลังผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 โดยแบ่งผู้ป่วยตามข้อมูลเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าข้อเข่า (68 คน) และกลุ่มที่ไม่เคยได้รับการฉีด (61 คน) บันทึกข้อมูลลักษณะทั่วไปของกลุ่มประชากร โรคร่วม ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด จำนวนเลือดที่เสียระหว่างและหลังการผ่าตัด 72 ชั่วโมง ตรวจติดตามอาการอย่างน้อย 12 เดือนที่แผนกผู้ป่วยนอกออร์โธปิดิกส์ รพ.พหลพลพยุหเสนา การวิเคราะห์ข้อมูลชนิดต่อเนื่องแสดงด้วยค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบความแตกต่างของตัวแปรที่ศึกษาระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมโดย t-test ซึ่งกำหนดนัยสำคัญที่ p<0.05
ผลการศึกษา ผู้ป่วย 129 คนที่ได้รับการศึกษาไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าข้อเข่า (68 คน) ในด้านระยะเวลาในการผ่าตัด (66.04+5.67นาที) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เคยได้รับการฉีด (65.72+5.42 นาที), p=0.15 และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของอัตราการเสียเลือดระหว่างและหลังผ่าตัด (586.32+93.50 และ 589.02+110.08 มล.) ระหว่าง 2 กลุ่มตามลำดับ (p=0.26) อีกทั้งไม่พบการติดเชื้อรอบข้อเข่าเทียมภายหลังการตรวจติดตามอาการอย่างน้อย 12 เดือนหลังผ่าตัด
สรุป การศึกษานี้พบว่าการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าเข่าในผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อมรุนแรงมีความปลอดภัยโดยไม่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านระยะเวลาในการผ่าตัด การเสียเลือดระหว่างและหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยที่เคยได้รับและไม่เคยได้รับการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าเข่าก่อนการผ่าตัดข้อเข่าเทียมและไม่พบการติดเชื้อรอบข้อเทียมทั้ง 2 กลุ่ม การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าข้อเข่าได้ผลด้านบรรเทาอาการปวดจากภาวะข้อเข่าเสื่อมและมีราคาถูก อย่างไรก็ตามการศึกษาไปข้างหน้า (prospective study) และการรวบรวบข้อมูลจากหลายสถาบันจะทำให้ข้อมูลที่ได้จากการศึกษามีประโยชน์เพิ่มขึ้น
References
L.A. Garcia Rodriguez, S. Hernandez-Diaz, The risk of upper gastrointestinal complications associated with nonsteroidal anti-inflammatory drugs, glucocorticoids, acetaminophen, and combinations of these agents Arthritis Res, 3 (2001), pp. 98-101.
Jesevar DS, Brown GA, Jones DL, Matzkin EG, Manner PA, Mooar P, et al, American Acedemy of Orthopaedic Surgeons. The American Acedemy of Orthopaedic Surgeons evidence-based guideline on: treatment of osteoarthritis of the knee. 2nd ed. J Bone Surg AM. 2013;95:1885-6.
National Institutute for Health and Clinical Excellence. Osteoaerthritis: the care and management of osteoarthritis in adult. NICE [internet]. Available from: http:/nice.org.uk/CG177.
Hochberg MC, Altman RD, April KT, Benkhalti M, Guyatt G, Mcgowan J,et al. American College of Rheumatology. American College of Rheumatology 2012 recommendations for the use of non-pharmacologic and pharmacologic therapies in osteoarthritis of hand hip and knee. Arthritis Care Res. 2012;64:465-74.
แนวทางเวชปฏิบัติคณะกรรมการจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติโรคข้อเข่าเสื่อม ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย, คณะกรรมการจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติโรคข้อเข่าเสื่อม สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย, แนวทางเวชปฏิบัติโรคข้อเข่าเสื่อม. ราชวิทยาลัยแพทย์ ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย; 2011.
A.V. Papavasilliou, D. L. Isaac, R. Marimuthu, A. Skyrme, A. Armitage. Infection in knee replacements after previous injection of intraarticular steroid. J Bone Joint Surg [Br] 2006; 88-B:321-3.
Bozic KJ, Kurtz SM, Lau E, Ong K, Chiu V, Vail TP, et al. The epidemiology of revision total knee arthroplasty in the United States. Clin Orthop Relat Res. 2010;468:45-51.
Vessely MB, Whaley AL, Harmsen WS, Schleck CD, Berry DJ. The Chitranjan Ranawat Award: Long-term survivorship and failure modes of 1000 cemented condylar total knee arthroplasties. Clin Orthop Relat Res. 2006;452:28-34.
Wilson MG, Kelley K, Thornhill TS. Infection as a complication of total knee-replacement arthroplasty. Risk factor and treatment in sixty-seven cases. J Bone Joint Surg AM. 1990;72:878-83.
Windsor RE, Bono JV. Infected total knee replacement. J Am Acad Orthop Surg. 1994;2:44-53.
Kurtz SM, Ong KL, Lau E, Bozic KJ, Berry D, Parvizi J. Prosthetic joint infection risk after TKA in the medicare population. Clin Orthop Relat Res. 2010;468:52-6.
Aravind Desai, Sreekumar Ramankutty, Tim Board, Videsh Raut. Does intraarticular steroid infiltration increase the rate of infection in subsequent total knee replacements? The Knee. 2009;262–264.
Parvizi J, Tan TL, Goswami K, Higuera C, Della Valle C, et al. The 2018 Definition of Periprosthetic Hip and Knee Infection: An Evidence-Based and Validated Criteria. J Arthroplasty. 2018;33(5):1309-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง