ประสิทธิผลของโปรแกรมการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ร่วมกับการใช้ Application LINE ต่อความรู้ และทักษะเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • สุณีรัตน์ ปฐมอนงค์กุล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้และทักษะของมารดาหลังคลอดในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ร่วมกับการใช้ Application LINE กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาหลังคลอด ที่มารับบริการรักษาในหอผู้ป่วยพิเศษ สธ.7 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ร่วมกับการใช้ Application LINE แบบทดสอบความรู้ประสิทธิผลของโปรแกรมการสอนมารดาหลังคลอด และแบบประเมินทักษะเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และมีค่าความเชื่อมั่นด้านความรู้เท่ากับ 0.750 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ เป็นมารดาหลังคลอด อายุ 25–35 ปี ร้อยละ 56.7 จบการศึกษาระดับ มัธยมศึกษา/ปวช. ร้อยละ 43.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 23.3 ลักษณะครอบครัว สามี ภรรยา ลูกอยู่ด้วยกัน ร้อยละ 63.3 และมีรายได้ 5,000-10,000 บาท ร้อยละ 33.3 จากการวิเคราะห์ความรู้และทักษะของมารดาหลังคลอดก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ร่วมกับการใช้ Application LINE พบว่า มารดาหลังคลอดมีความรู้ และทักษะเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01)

จากผลการวิจัยที่ได้ ควรนำโปรแกรมการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ร่วมกับการใช้ Application LINE ไปใช้เป็นแนวทางในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังคลอดทุกราย เพื่อเป็นการให้ความรู้และทักษะแบบ New Normal และผู้ให้ความรู้มารดาหลังคลอดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรได้รับการอบรมโปรแกรมการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ร่วมกับการใช้ Application LINE อย่างถูกต้อง

References

กุสุมา ชูศิลป์. (2555).การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดากับสุขภาพทารก. ใน ศุภวิทย์ มุตตามระ,กุสุมา ชูศิลป์ ,อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ ,วราภรณ์ แสงทวีสิน และยุพยง แห่งเชาวนิช (บรรณาธิการ), ตำราการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา. (หน้า 33-44). กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์ไอยราจำกัด.

ศิราภรณ์ สวัสดิวร. (2550). เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความรู้. สู่การปฏิบัติ. (หน้า 47-49). กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร

สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. ใน กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, นันทิยา วัฒายุ, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร, และสุดาภรณ์ พยัคฆเรือง (บรรณาธิการ), การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (หน้า 21-42). กรุงเทพมหานคร: พรี- วัน.

Wong, E. H., Nelson, E., Choi, K. C., Wong, K. P., Ip, C.< & Ho, L. C. (2007). Evaluation of a peer counseling programme to sustain breastfeeding practice in Hong Kong. International brestfeeding Journal, 2(12), 1-11.

Semenic, S., loiselle, C., & Gottlieb, L. N. (2008). Predictors of the duration of exclusive breastfeeding among first-time mothers. Research Nursing Health, 31(5), 428-441.

Chezem, J. C., Friesen, C., & Boettcher, J. (2002). Breastfeeding knowledge, breastfeeding confidence, and infant feeding plans: Effects on actual feeding practices. JOGNN,32(1), 40-47.

Lewallen, L. P., Dick, M. J., Flowers, J., Powell, W., Zickfoose, K. T., Wall, Y. G., & Price, Z. M.(2006). Breastfeeding Support and Early Cessation. JOGNN, 35, 166-172.

บังอร ดวงรัตน์. (2551) การวิจัยเรื่องการพัฒนาหุ่นจำลองแขนฝึกทักษะเย็บแผลชนิดยางพารา. วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). การกำหนดขนาดตัวอย่างและสถิติวิเคราะห์ใหม่ๆที่น่าสนใจ. Retrieve on January 20, 2019, From: http://lllskill.com/web/files/GPower.pdf

มานี ปิยะอนันต์. (2548). นมแม่. กรุงเทพฯ: ศรียอดการพิมพ์

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. (2557). การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. แผ่นพับให้ความรู้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ศูนย์การแพทย์ฯ มศว. (2563, 10, 5). นมแม่ที่ดี 1 [Video file].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29