อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึก ในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • กาญจนา พันธุ์ปทุม กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

คำสำคัญ:

อุบัติการณ์, ภาวะหนาวสั่น, อุณหภูมิกายต่ำ, บริการทางวิสัญญี

บทคัดย่อ

แผนกวิสัญญีวิทยาโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาเป็นหน่วยงานที่ให้บริการระงับความรู้สึกที่เข้ารับการผ่าตัดทุกประเภท พบว่า มีภาวะหนาวสั่นเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญอันดับ 2 ของภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึกในหน่วยงาน ซึ่งการเกิดภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วยหลังได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่มีโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือดทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า (Prospective cohort study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึก ณ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มารับบริการทางวิสัญญี ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2564 - 8 เมษายน 2564 จำนวน 260 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกโดยใช้สถิติ t-test และ chi-square test

ผลการศึกษา: อุบัติการณ์ของการเกิดภาวะหนาวสั่น ร้อยละ 18.5 จำแนกเป็น ระดับ 2 (มองเห็นการสั่นของกล้ามเนื้อเพียงกลุ่มเดียว) ร้อยละ 6.2 ระดับ 3 (มองเห็นการสั่นของกล้ามเนื้อมากกว่าหนึ่งกลุ่ม) ร้อยละ 1.9 ระดับ 4 (มีการสั่นของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย) ร้อยละ 10.4 ไม่มีการเกิดภาวะหนาวสั่น ร้อยละ 81.5 จำแนกเป็น ระดับ 0 (ไม่มีอาการสั่น) ร้อยละ 78.1 ระดับ 1(มีอาการขนลุก) ร้อยละ 3.5 เมื่อเปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกาย (kg/m2) พบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่เกิดภาวะหนาวสั่น มีค่าดัชนีมวลกาย = 23.36±4.20ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เกิดภาวะหนาวสั่น = 25.36±4.57 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.006) ส่วนเพศ อายุ อุณหภูมิกายก่อนเข้าห้องผ่าตัด อุณหภูมิห้องผ่าตัด ชนิดของการให้ยาระงับความรู้สึก ประเภทการผ่าตัด ระยะเวลาการผ่าตัด ปริมาณสารน้ำที่ได้รับ ปริมาณเลือดที่สูญเสีย การใช้สารน้ำชะล้างภายในร่างกายการใช้เครื่องเป่าลมร้อน และการอุ่นสารละลายทางหลอดเลือดดำ ไม่มีผลต่อการเกิดภาวะหนาวสั่น

จากผลการวิจัยนี้ควรจัดทำแนวทางการป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ของภาวะหนาวสั่น ในผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกายต่ำกว่า 25kg/m2

References

ภาวิณี ปางทิพย์อำไพ. การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น.ใน: บุศรา ศิริวันสาณฑ์. พิชยา ไวทยะวิญญู. ปฏิภาณ ตุ่มทอง. บรรณาธิการ. Anesthesia and Perioperative care. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พี.เอ. ลีฟวิ่ง: 2560. หน้า 207-221.

ดวงชีวัน ชูฤกษ์. การดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น. ใน: มานี รักษาเกียรติศักดิ์. จริยา เลิศอรรฆยมณี. เบญจรัตน์ หยกอุบล. อรณี สวัสดิ์-ชูโต. ปาริชาต อภิเดชากุล. บรรณาธิการ. ตำราวิสัญญีพื้นฐานและแนวทางปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง: 2559. หน้า 331.

วริตา ชัยอรุณดีกุล. ภาวะอุณหภูมิกายต่ำระหว่างการระงับความรู้สึก.ใน: ปรก เหล่าสุวรรณ.สุรัญชนา เลิศศิริโสภณ. อธิฏฐาน เอียสกุล.บรรณาธิการ. ภาวะวิกฤตทางวิสัญญีวิทยา (Anesthetic Crisis). พิมพ์ครั้งที่ 1. ภาควิสัญญีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: 2563. หน้า 247-272

กนกพร คุณาวิศรุต. การดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น. ใน: สุวรรณี สุธเศรณีวงศ์. มะลิ รุ่งเรืองวาณิช. มานี รักษาเกียรติศักดิ์. พรอรุณ สิริโชติวิทยากร. บรรณาธิการ.ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์: 2552. หน้า 315

ภูริพงศ์ ทรงอาจ. การดูแลผู้ป่วยหลังการให้ยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น.ใน: อังกาบ ปราการรัตน์. วิมลลักษณ์ สนั่นศิลป์. ศิริลักษณ์ สุขสมปอง. ปฏิภาณ ตุ่มทอง. บรรณาธิการ. ตำราวิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เอพลัส พริ้น: 2556. หน้า 777

เจษฎา ธรรมสกุลศิริ. การควบคุมอุณหภูมิกาย. ใน:ศิริวรรณ จิรสิริธรรม. บรรณาธิการ.ตำราวิทยาศาสตร์พื้นฐานวิสัญญีวิทยารามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ไอเดีย อินสแตนท์ พริ้นทิ่ง: 2559 หน้า 245-258.

วิรากร กู้ปิ่นไพฑูรย์. อุปกรณ์สำหรับการควบคุมอุณหภูมิกาย. ใน: ศิริวรรณ จิรสิริธรรม. บรรณาธิการ. ตำราวิทยาศาสตร์พื้นฐานวิสัญญีรามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพฯ: ไอ เดีย อินสแตนท์ พริ้นทิ่ง: 2559 หน้า 759-763.

วัลภา จิรเสงี่ยมกุล. (2558). อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะหนาวสั่นในห้องพักฟื้นหลังได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11;29(4):579-586.

งานวิสัญญีโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. รายงานสถิติภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึก ประจำปีงบประมาณ 2562 และ 2563.

สุกัญญา องอาจ. (2561). อุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วตัวหรือแบบเฉพาะส่วน ในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล; 3(2):116-126.

ศรัญญา จุฬารี. (2560). อุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด การจัดการและผลลัพธ์ทางการพยาบาลของผู้ป่วยในห้องพักฟื้น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ; 35(4):194-203.

วนิดา ศรีสถาน. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหนาวสั่นที่ห้องพักฟื้นในผู้ป่วยที่ฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง โรงพยาบาลแม่สอด. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: 203.157.71.172/academic/web/files/2563/rescarch/MA2563-001-01-0000000283-0000000214.pdf (สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2563).

สมหมาย ทองมี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหนาวสั่นหลังได้รับยาระงับความรู้สึกของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น. วารสารการแพทย์เขต 11;32(4):1237-1248.

เกษร พั่วเหล็ก. (2560) ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหนาวสั่นและอุณหภูมิต่ำเพื่อการพัฒนาโปรแกรมอบอุ่นร่างกายในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลัง โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี; 25(3) 294-305.

รุ่งทิวา ศิริวงศ์กุล. (2559).การเปรียบเทียบผลการควบคุมอุณหภูมิห้องผ่าตัดต่อการเกิดภาวะหนาวสั่นหลังผ่าตัดในมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง และได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี; 24(2):141-149.

ปรเมศวร์ จิตถนอม,นรลักษณ์ เอื้อกิจ. (2561) ผลของโปรแกรมการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกาย ร่วมกับการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่ออาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวชที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง. จุฬาลงกรณ์เวชสาร ก.ย-ต.ค.; 62(5): 785-97.

สุพิศ สกูลคง. (2559) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำของผู้ป่วยหลังผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะในห้องพักฟื้น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้; 3(2): 195-207.

สุธาสินี สมานคติวัฒน์. (2560) อุบัติการณ์ของภาวะอุณหภูมิกายต่ำและการเปรียบเทียบอุณหภูมิกายระหว่างผ่าตัดระหว่างกลุ่มที่ได้และไม่ได้รับการอบอุ่นร่างกายก่อนผ่าตัด ในผู้ป่วยนรีเวชที่มารับการผ่าตัดช่องท้องแบบไม่เร่งด่วน. วารสารการแพทย์เขต 4-5; 36(4): 207-216.

วิรากร กู้ปิ่นไพฑูรย์. อุปกรณ์สำหรับการควบคุมอุณหภูมิกาย. ใน: ศิริวรรณ จิรสิริธรรม.บรรณาธิการ. ตำราวิทยาศาสตร์พื้นฐานวิสัญญีรามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ไอเดีย อินสแตนท์ พริ้นทิ่ง: 2559 หน้า 759-763.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29