การพยากรณ์โรคและผลการอยู่รอดของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดสูง

ผู้แต่ง

  • สรัญกร ศักดิ์ชินบุตร แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรคและระยะเวลาการอยู่รอดของผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดสูงข้อมูลและวิธีการ เป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วย 60 รายเป็นระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2559 – 2563 จากฐานข้อมูลผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา โดยคำนวณปัจจัยที่มีผลต่อพยากรณ์โรคแบบ univariate และ multivariate analysis วิเคราะห์ระยะเวลาการรอดชีวิตด้วย Kaplan-Meier method

ผลการศึกษา ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย63 ปี ชนิดของเซลล์มะเร็งสวนใหญ่เป็น squamous cell (ร้อยละ 64) มะเร็งที่พบภาวะแคลเซียมในเลือดสูง  3 อันดับแรก คือ มะเร็งปอด ศีรษะและลำคอ และเต้านม ตามลำดับมีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 42 ที่ได้รับการรักษาจำเพาะสำหรับโรคมะเร็ง โดยได้รับการผ่าตัดร้อยละ 13 ได้ยาเคมีบำบัดร้อยละ 12 ได้ฉายรังสีร้อยละ 5 และได้รับการรักษาหลายวิธีร่วมกันร้อยละ 12  ค่าแคลเซียมในเลือดโดยเฉลี่ยเท่ากับ 15.1 โดยร้อยละ 25 พบภาวะแคลเซียมในเลือดสูงพร้อมกับได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง และ ร้อยละ 33พบอาการทางระบบประสาทจากภาวะแคลเซียมในเลือดสูง  ระยะเวลาการอยู่รอดโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1.98 เดือน (95%CI 0.99-2.97) โดยจากการวิเคราะห์ด้วย univariteพบ 5 ปัจจัยที่มีการพยากรณ์โรคที่ดี ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีระยะเวลาการอยู่รอดยาวนานขึ้น  ได้แก่ เซลล์มะเร็งชนิดnon squamous (P=0.029) การได้รับการรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด (P= 0.008) หรือการได้รับการรักษาหลายวิธีร่วมกัน (P=0.018) การที่โรคไม่อยู่ในระยะแพร่กระจาย (P=0.016) และสุดท้ายการได้รับการรักษาแคลเซียมในเลือดสูงด้วย bisphosphanate (P=0.005) เมื่อนำปัจจัยต่างเหล่านี้มีวิเคราะห์ multivariate พบว่ามี2 ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการอยู่รอดอย่างมีนัยสำคัญ คือ การได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (P=0.003) และ การได้ bisphosphanateในการรักษาภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (P=0.033)

สรุป ผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดสูงจะมีพยากรณ์โรคที่ไม่ดี ทั้งนี้การได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการใช้ Bisphosphanateจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้นได้

References

World health statistics 2020

Global Cancer Observatory 2020, http://gco.iarc.fr>data>764-Thailand-fact-sheets

Seccarraccia D.Cancer related hypercalcaemia. Journal of Oncology Practice 2010; 56:244-246

Goldner W. Cancer related hypercalcaemia. Journal of Oncology Practice 2016; 12:426-432.

De RE, Ramos O, Mak MP, Alves MFS, Henrique G, et al. Malignancy-related hypercalcaemia in advanced solid tumors : survival outcomes. J Glob Onco 2017;3:728-733.

Li Xu, BieZhixin, Zhang Zijin, Li Yuanming, Hu Xueqing, Liu Wnebo, et al. Clinical analysis of 64 patients with lung-cancer-associated hypercalcaemia. J Can Res Ther 2015;11:C275-9.

Chan VWQ, Henry MT, Kennedy MP. Transl Cancer Res 2020;9(1):222-230.

Penel N, Berthon C, Everard F, Neu J, Clisant S, N-Guyen M, et al. Prognosis of hypercalcaemia in aerodigestive tract cancers: Study of 136 recent cases. Oral Oncology 2005;41:884–889.

Wit S, Cleton FJ. Hypercalcaemia in patients with breast cancer: a survival study. J Cancer Res Clin Onco 1994;120:610-614.

Tucci M, Mosca A, Lamanna G, Porpiglia F, Terzolos M, Vana F, et al. Prognostic significance of disordered calcium metabolism in hormone-refractory prostate cancer patients with metastatic bone disease. Prostate Cancer and Prostatic Diseases 2009;12:94–99.

Hassan BAR, Yusoff ZBM, Hassali MA, Othman SB, WeideroasE. Impact of Chemotherapy on Hypercalcaemia in Breast and Lung Cancer Patients. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention,2012;13:4373-4378.

Shimada A, Mori I, Maeda I, Watanabe Kikuchi N, Ding H, et al. Physicians’ attitude toward recurrent hypercalcaemia in terminally ill cancer patients. Support Care Cancer 2015;23:177–183.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31