ผลของการพยาบาลที่บ้านต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

ผู้แต่ง

  • ศุภวดี ลิมปพานนท์ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนและหลังให้การพยาบาลที่บ้านโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนากลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 30 คน ระยะเวลาการเก็บข้อมูลตั้งแต่ เดือนเมษายน 2564 - สิงหาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นคู่มือการพยาบาลที่บ้าน ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเอง ของโอเร็มและกระบวนการพยาบาล โดยมีขั้นตอน การประเมินสภาพผู้ป่วยและครอบครัว การวางแผนการพยาบาล ตามความต้องการและสภาพปัญหา ให้ความรู้ฝึกทักษะเพื่อฟื้นฟูสภาพ มีการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำเนินชีวิต และมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม ก่อนและ หลังการทดลองด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติ pair t-test

ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value<0.05 การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน สามารถนำไปใช้ในการเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทำให้ช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น ลดการพึ่งพาผู้ดูแล และส่งเสริมให้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี

References

World Stroke Organization. (2010). What is stroke?, Retrieved from:

http://www.worldstrokecampaign.org/ Facts/ Pages/WhatisStroke.aspx

Thai Stroke Socicty. (2013). Stroke cost. Retricved from:

https://thaistrokesociety org/ purpose (in Thai)

วาสนา มูลฐี และคณะ. (2559). ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและญาติผู้ดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน.วารสารสภาการพยาบาล. 31(1),95-109.

Orley,J.,&Kuyken, W.(Eds.). (1994). Quality of life assessment: International perspectives. Berlin: Springer-Verlag.

นันทกาญจน์ ปักษี,และคณะ. (2559). ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และญาติผู้ดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน ต่อความพร้อมในการดูแล ความเครียด การปรับตัว และความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับของญาติผู้ดูแล. วารสารพยาบาลรามาธิบดี, 22(1),65-80.

บรรณฑวรรณ หิรัญเคราะห์. (2560). รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 11(3),11-21.

Zhan,L.(1992).Qualityof life: Conceptual and measurement issues. Journal of Advanced Nursing, 17(7), 795-800.

ราตรี มณีขัติย์.(2550). ผลของการเยี่ยมบ้านต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ตำบลอุโมงค์ จังหวัดลำพูน. [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน (พิมพ์ครั้งที่1) กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

มาลีจิตร์ ชัยเนตร. (2552). ผลของการเยี่ยมบ้านต่อการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยอุดกั้นเรื้อรังอำเภอแม่ลาว จังหวัด เชียงราย. [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31