ความเครียดและการจัดการความเครียดยุค new normal ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ใน cohort ward ของโรงพยาบาลในจังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • คริษฐา พานาสันต์ กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตและยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความเครียดและการจัดการความเครียดยุค new normal ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในcohort ward ของโรงพยาบาลในจังหวัดกาญจนบุรี ปี 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ แบบสอบถามประกอบไปด้วย 4 ส่วน ดังนี้ คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ที่มาของความเครียด  ส่วนที่ 3 อาการของความเครียด ส่วนที่ 4 วิธีการจัดการกับความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา  ผลการศึกษาพบว่ามี อายุตั้งแต่ 21-56 ปี สถานภาพ โสด ร้อยละ 50  มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 42.94 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 94.11 มีความเพียงพอของรายได้ คิดเป็นร้อยละ 92.36 และรู้สึกว่ารายได้ไม่เพียงพอ มีหนี้สิน ร้อยละ 7.64 ตามลำดับ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานใน cohort ward น้อยที่สุด คือ 2 วัน คิดเป็นร้อยละ 0.58  รองลงมา คือ ปฏิบัติงาน   2 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 1.17 และปฏิบัติงานยาวนานที่สุด 2 ปี ร้อยละ 0.58  พยาบาลวิชาชีพที่ขึ้นปฏิบัติงานในตึก cohort Ward ส่วนใหญ่อยู่ในระดับผู้ชำนาญการ ร้อยละ 89.42 อยู่ในระดับปฏิบัติการ ร้อยละ 10.58 รูปแบบการทำงานที่เป็นผลัด หมุนเวียนกันในการปฏิบัติงาน คราวละ 8 ชั่วโมงต่อเวร (ทั้ง เช้า บ่าย ดึก) คิดเป็นร้อยละ 74.11 เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาแล้ว ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับเครียดเล็กน้อย (mild stress) ร้อยละ 35.88  ผู้ที่มีความเครียดมาก เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานในตึกมากกว่า 1 ปี และอยู่ในช่วงอายุ 42-56 ปี ผู้ที่มีภาวะสุขภาพจิตปกติ พบร้อยละ 25.88 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดได้แก่ อายุ สถานภาพ ความเพียงพอของรายได้ของตนเองและครอบครัว ตลอดจนระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตึกCohort ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลในจังหวัดกาญจนบุรี มีความสัมพันธ์กับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ P-value<0.005 พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่ที่ปฏิบัติงานใน Cohort ward ใช้วิธี หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย  จิตใจ และพฤติกรรมที่มีความเครียดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 27.64 เพื่อที่จะลดความเครียดด้วยตนเอง รองลงมา ใช้วิธีใช้วิธีทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น  ออกกำลังกาย เล่นกีฬา  ท่องเที่ยว สังสรรค์ ทำบุญ เล่นดนตรี และสร้างบรรยากาศโดยจัดสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวให้สบายตา เป็นระเบียบ น่าอยู่ น่าทำงาน คิดเป็นร้อยละ 26.47, 24.70 ตามลำดับ และไม่มีพยาบาลคนใดเลยที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อจัดการกับความเครียด

References

Selye. 1956.The Stress of Life (Revised Edition) Uitgever: McGraw-Hill, NY, USA .

Lazarus and Folkman.1984.. Psychological Stress and the Coping Process. New York: McGraw-Hill.

Baron Robert and Jerald Greenberg.1990.Behavior in Organization : Understanding and Managing the Human Side of Work. Boston : Allyu & Bacon.

กระทรวงมหาดไทย. 2564. ข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย: กรุงเทพมหานคร.

วรรณรัตน์ สิริพงศ์. 2550. การศึกษาผลของการจัดโปรแกรมคลายเครียดในการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: สงขลา.

นิษฐ์ ประสีระเตสัง. 2553. การประเมินความเครียดจากการทำงานของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือจังหวัดลำพูน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่:เชียงใหม่.

เกศรินทร์ ปัญญาดวง. 2552. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำงานจากการรับรู้ของพนักงานให้บริการลูกค้า ทางโทรศัพท์. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31