ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ปัจจัยด้านสังคมวิทยา, เพศศึกษาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมวิทยาและความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนรัฐบาล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 154 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิจากแต่ละโรงเรียนตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามด้านสังคมวิทยาและแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรม การป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยการทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 72.26) ปัจจัยด้านสังคมวิทยา ได้แก่ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และความพึงพอใจในชีวิต ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ส่วนปัจจัยด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ การสื่อสารเพื่อความเชี่ยวชาญ การจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพของตนเอง การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง
สรุปผล: ครอบครัว และโรงเรียนควรให้ความสำคัญในเรื่องการให้คำปรึกษาเมื่อวัยรุ่นมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ หรือเกี่ยวกับการปรับตัวทางเพศ และควรสนับสนุนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ประเด็นที่ควรมุ่งเน้นการเข้าถึงข้อมูลและการสื่อสารในเรื่องเพศศึกษา เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทางออกที่ดี
References
สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560–2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559. เทพเพ็ญวานิสย์: กรุงเทพฯ; 2560.
สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา: กรุงเทพฯ; 2564.
ปญญ์กรินทร์ หอยรัตน์, ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2563;36(1):149-63.
Jahan N. Teenage Marriage and Educational Continuation in Thailand. Journal of Population and Social Studies. 2008;17:135-56.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี. สถานการณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. เอกสารอัดสำเนา; 2566.
สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์. โครงการเสริมสร้างความแข็งแรงในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของประเทศ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 21 ม.ค. 2567] เข้าถึงจาก: https://www.tmwa.or.th/new/more1.php?subid=42
World Health Organization. Health education: theoretical concepts, effective strategies and core competencies: a foundation document to guide capacity development of health educators [Internet]. 2012 [cited January 2, 2024]. Available from: http://applications.emro.who.int/dsaf/EMRPUB_2012_EN_1362.pdf
จิราพร ชมพิกุล, ปราณี สุทธิสุคนธ, เกรียงศักดิ์ ซื่อเลื่อม และดุษณี ดํามี. สัมพันธภาพในครอบครัวไทย. นครปฐม: สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ พ.ศ. 2561. นนทบุรี: กองสุขศึกษา; 2561.
Cohen J. Statistical power for the behavioral sciences. 2nd ed. New York: Academic Press; 1977.
Diener ED, Emmons RA, Larsen RJ, Griffin S. The satisfaction with life scale. Journal of personality assessment. 1985;49(1):71-75.
อัครเดช เกตุฉ่ำ, ธัชพงศ์ เศรษฐบุตร. คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดความพึงพอใจในชีวิตฉบับภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนระหว่างเพศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 2563;6(1):186-97.
นุสรัน เฮาะมะ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร สำหรับนักศึกษาหญิง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต]. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา; 2561.
นันทิวา สิงห์ทอง, ณัฐธวัลย์ เพ็งแจ่ม, วันฉัตร โสฬส, ศุภรดา โมขุนทด, ณัฐมน เนตรภักดี, เขมิกา วิเศษเพ็ง, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมือง จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 7; 23 พฤษภาคม 2563. นครราชสีมา: สำนักวิจัยและพัฒนา วิทยาลัยนครราชสีมา; 2563
จุฑารัตน์ สนุกแสน, นภสร คงมีสุข, รัชนี ลักษิตานนท์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นหญิง เขตสุขภาพที่ 5 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21 ม.ค. 2567] เข้าถึงจาก: https://hpc.go.th/rcenter/_fulltext/20231216210136_2816/20231216210148_778.pdf
รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์กับการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2565;1
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง