การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่มีเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอดและบาดเจ็บที่ตับ: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ, เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด, การบาดเจ็บที่ตับบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่มีเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอดและบาดเจ็บที่ตับ
วิธีการศึกษา: ศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ซึ่งเป็นผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่มีเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอดและบาดเจ็บที่ตับ เก็บข้อมูลจากประสบการณ์ในการปฏิบัติการพยาบาลกับผู้ป่วยจำนวน 1 ราย โดยใช้หลักกระบวนกระพยาบาลเป็นขั้นตอนการดำเนินการมีการประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ กำหนดข้อวินิจฉัยพยาบาล แผนงานและการปฏิบัติการพยาบาล ประเมินผล และสรุปเขียนเป็นเอกสารวิชาการ ศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคม 2566 - ตุลาคม 2566
ผลการศึกษา: ชายไทย อายุ 27 ปี ได้รับการวินิจฉัย fracture left 6th-8thribs, left hemothorax, left diaphragmatic rupture, liver injury, fracture T12 with spinal cord injury ได้รับการใส่ท่อระบายทรวงอกได้รับการทำผ่าตัด 2 ครั้ง คือ exploratory laparotomy with repair diaphragm และ open reduction with pedicle screws T10-L2 การวางแผนการพยาบาล แบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1) ระยะก่อนผ่าตัด เสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อกจากการมีเลือดออกภายในช่องท้องและในเยื่อหุ้มปอดผู้ป่วยและญาติวิตกกังวล และกลัวอันตรายต่อชีวิต 2) ระยะ 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดเสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน เนื่องจากการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงจากมีเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอดและได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมกระบังลมมีโอกาสเลือดออกซ้ำเกิดภาวะช็อกซ้ำหลังผ่าตัด เนื่องจากขณะผ่าตัดผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากการสูญเสียเลือดและน้ำเป็นปริมาณมาก และผู้ป่วยไม่สุขสบายจากอาการปวดแผลผ่าตัด และ 3) ระยะหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงได้รับการดูแลต่อเนื่องอย่างปลอดภัยจนจำหน่ายกลับบ้าน ได้แก่เฝ้าระวังภาวะติดเชื้อ การจัดการความปวด การสอนแนะนำการฟื้นฟูสภาพร่างกายรวมระยะเวลาที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 35 วัน
ข้อเสนอแนะ: การดูแลรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการรักษาพยาบาลโดยต้องมีสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บ ที่เข้าใจถึงพยาธิสภาพของโรค การดำเนินของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ และจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการประเมินผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันเวลาและสามารถกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลได้อย่างถูกต้องและครอบคลุมเพื่อสร้างระบบความปลอดภัยให้กับผู้ป่วยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
References
Frink M, Lechler P, Debus F, Ruchholtz S. Multiple Trauma and Emergency Room Management. Dtsch ArzteblInt. 2017;114(29-30):497-503.
นวลทิพย์ ธีระเดชากุล, นุชศรา พรมชัย, นงลักษณ์พลแสน. ประสิทธิผลการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหลายระบบด้วย Multiple Injury Nursing Management Guideline แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษสุรินทร์ บุรีรัมย์. 2561;33(2):165-77.
Brunicardi F, Brandt M, Andersen D, Billiar T, Dunn D, Hunter J, et al. Schwartz's Principles of Surgery. Ninth Edition. New York: McGraw-Hill; 2010.
Nasim Ahmed, Jerome JV. Management of liver trauma in adults: Emergency Trauma Shock. 2011;4(1):114-119.
วิรุฬ เหล่าภัทรเกษม. ตำราออร์โธปิดิกส์ 1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท; 2559.
พรศิริ พันธสี. หระบวนการพยาบาล&แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 30. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดพิมพ์อักษร; 2566.
กาญจนา เซ็นนันท์, อรพรรณ โตสิงห์, ศิริอร สินธุ.การช่วยชีวิตของผู้บาดเจ็บในระยะเร่งด่วนฉุกเฉิน: การวิเคราะห์วรรณกรรม. วารสารสภาการพยาบาล. 2551;23(3):26-39.
วิจิตรา กุสุมภ์, ธนันดา ตระการวาณิชย์, ภัสพร ขำวิชา, ไพบูลย์ โชตินพรันต์ภัทร, สุนันทา ครองยุทธ, รัตนา จารุวรรโณ และคณะ. การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตแบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์; 2560.
วิมล อิ่มอุไร. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2562;4(1):54-67.
สุวรัตน์ ภู่เพ็ง. ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. กระบี่เวชสาร. 2565;5(1):27-39.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง