ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
การหกล้ม, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุโดยใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ
วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โรงพยาบาลบ่อพลอยรับผิดชอบระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2567 จำนวน 64 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 32 คน กลุ่มทดลองได้โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มและแบบสอบถามการวิจัยมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกันและเป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัย: หลังทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ (8.03±1.40 vs. 6.84±1.46; p<0.001) การรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ (31.65±1.77 vs. 27.27±2.44; p<0.001) และพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม(40.06±3.01 vs. 37.09±3.06; p<0.001) สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมีประสิทธิผลในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ สามารถนำโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มไปใช้ในพื้นที่ใกล้เคียงในเขตที่รับผิดชอบและสามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้กับสถานบริการสาธารณสุขในบริบทพื้นที่เดียวกันได้
References
World Health Organization. World Health Statistics 2023: monitoring health for the SDGs, Sustainable Development Goals. Geneva: World Health Organization; 2023.
The Coverage. ทุกวันนี้ประเทศไทยมีจำนวนประชากรเท่าไรกันแน่ ? ดูข้อมูลอย่างเป็นทางการได้ที่นี่ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thecoverage.info/news/content/6450
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566–2570 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf.
มุทิตา มุสิการยกูล, สุจิตรา สุคนธทรัพย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. Journal of Sports Science and Health. 2565;23(2):143-157.
Phu S, Sturnieks DL, Lord SR, Okubo Y. Impact of ageing, fall history and exercise on postural reflexes following unpredictable perturbations: A systematic review and meta-analyses, Mechanisms of ageing and development. 2022:203:111634..
Rietdyk S, Ambike S, Amireault S, Haddad JM, Lin G, Newton D, et al. Co-occurrences of fall-related factors in adults aged 60 to 85 years in the United States National Health and Nutrition Examination Survey. PLoS one. 2022;17(11):e0277406.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมการแพทย์, สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สินทวีการพิมพ์; 2562.
นิพา ศรีช้าง สำนักโรคไม่ติดต่อ. DDC WATCH จับตาโรคและภัยสุขภาพ การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่พบบ่อย [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/doe/journal_detail.php?publish=5996
Rosenstock, I. Historical origins of the health belief model. Health Education Monographs. 1974;2(4):176--183.
House, JS. Work stress and social support Reading, MA: Addison-Wesley; 1981.
กรมอนามัย. รายงานสุขภาพผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://bluebook.anamai.moph.go.th/ A_Authorityreport.
Bartz, Albert E. Basic Statistical Concept. New Jersey: Prentice-Hall; 1999.
มานิตา รักศรี, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, เสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ. ผลของโปรแกรมปรับความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาล. วารสารสภากาชาดไทย. 2562; 12(2):134-150.
โสภิตตา แสนวา. ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในอำเภอ เกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2565.
ศูนย์ฝึกอบรมและแพทยศาสตรศึกษา. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. ราชบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 5; 2562.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง