ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • มะลิวัลย์ แซ่ไหล กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

คำสำคัญ:

การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรม, ระดับน้ำตาลในเลือด, ระดับน้ำตาลสะสม, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้

วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังดำเนินการทดลองระหว่าง 1 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้และมีค่าระดับน้ำตาลสะสมมากกว่า 7 ที่รับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสังขละบุรี จำนวน 35 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.77 และ 0.83 แบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัย: หลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้(23.25±1.98vs. 18.50±3.80; p<0.001) และพฤติกรรม (111.32±6.91 vs. 95.95±9.82; p<0.001) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีระดับน้ำตาลในเลือด (141.75 ±32.03vs. 166.15 ±40.53; p<0.001) และระดับน้ำตาลสะสม (7.28 ±0.39vs. 8.36 ±0.94; p<0.001) ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุปผล: โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนช่วยให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ดีและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. รู้จักโรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 10 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmthai.org/new/index.php/sara-khwam-ru/understand-diabetes/understand-diabetes-2

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc

กองโรคไม่ติดต่อ. รายงานจำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (ปี 2560-2564) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php? tid=32&gid=1-020

Health Data Center [HDC] จังหวัดกาญจนบุรี [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 25 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hdc.moph.go.th/kri/public/standard-report-detail/137a

สาวิตรี นามพะธาย. ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2561.

Bandura A. Self-efficacy: the exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company; 1997.

วิยะดาเพ็งจรูญและขจีพงศธรวิบูลย์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2563;29(4):51-66.

นงลักษณ์ โค้วตระกูล, พะเยาว์ ด่านปรีดา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารกองการพยาบาล. 2563;47(2):119-34.

Bloom, Benjamin S. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

นพพร ธนะชัย. สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2555.

ณัฐณิชา หาญลือ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2561;1(2):20-31.

กนกวรรณ ด้วงกลัด, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร. โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2562;36(1):66-83.

กฤชคุณ คำมาปัน. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563;6(1):111-24.

เอื้อมเดือนชาญชัยศรี. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน.วารสารราชนครินทร์. 2558;47(2):119-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24

How to Cite

1.
แซ่ไหล ม. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. Phahol Hosp J [อินเทอร์เน็ต]. 24 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 22 มกราคม 2025];12(2):28-42. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/PPHJ/article/view/1288