ผลของการใช้โปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่บ้านในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • อารีย์ ธวัชวัฒนานันท์ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

โปรแกรมสนับสนุน และให้ความรู้, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมสนับสนุน และให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่บ้านในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ ขาดนัด หรือยาหมดก่อนนัด ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ที่มารับการรักษาหน่วยงานผู้ป่วยนอก แผนกตรวจโรคทั่วไป โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จำนวน 60 ราย ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม ถึง 31 ตุลาคม 2566 ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณา สถิติทดสอบวิลคอกซัน และสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู

ผลการวิจัย: 1) หลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (81.01±35.87  และ 67.01±17.25; p<0.001) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน (3.15±0.27 และ 3.02±0.91; p<0.001) 2) หลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องโรคเบาหวานสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (81.01±35.87 และ 71.21±11.01; p<0.001) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน (3.15±0.27 และ 2.84±0.65; p<0.001)

สรุปผล: โปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานในเวลา 4 สัปดาห์ สามารถเพิ่มความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองให้ดีขึ้นได้

References

กรมควบคุมโรค. สำนักโรคไม่ติดต่อ ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 20 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/news/announcement-detail.php?id=13256&gid=16

ศุภรัฐ พูนกล้า. ปัจจัยที่มีความพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน. วารสารพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2562;9(1):30-45.

ประชุมพร กวีกรณ. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2559;4(3):1-18.

นฤมล ศรีผุดผ่อง. ผลการใช้โปรแกรมการให้ความรู้สำหรับดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกเบาหวานของโรงพยาบาลหมอสำเริง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 2560;6(1):1416-1429.

ศิริพร ไชยนาพันธ์. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมโรคของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี.โรงพยาบาลอุดรธานี [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://backoffice.udpho.org/openaccess/index.php.

Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing Concepts of Practice. St. Louis: Mosby year book. 2001.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน [ไม่ได้ตีพิมพ์]. ข้อมูลรายงานผู้ป่วยโรคเบาหวาน. สมุทรสาคร: โรงพยาบาลกระทุ่มแบน; 2565.

Cohen J. Statistical power analysis of the behavioral scienes. New York: Lawrence Erlbaum Associattes. 1988.

สาวิตรี นามพะธาย. ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด และค่าเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2561.

อรุณี จิรวัฒน์กุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคปริทันต์ อายุ 60 - 74 ปี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562;12(3):72-80.

อารีย์ ธวัชวัฒนานันท์. ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูล. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย. 2550.

รณิดา เตชะสุวรรณา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะก่อนเบาหวานของประชากรวัยทำงานที่มีญาติ สายตรงป่วยเป็นโรคเบาหวาน อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563;16(3):12-19.

ดวงหทัย แสงสว่าง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 2561;8(1):103-17

ศุภพงศ์ ไชยมงคล. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอ คอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(37):37-52.

บุญฤทธิ์ เฮ็งไล้. การพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน. วารสารราชนครินทร์. 2559;13(30):151-160.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-02