ผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านส่งเสริมป้องกันโรควัณโรคต่อทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรควัณโรค ตำบลท่าเสา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
การป้องกันโรควัณโรค, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรควัณโรค, ทัศนคติ, พฤติกรรมการดูแลตนเองบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านส่งเสริมป้องกันโรควัณโรคต่อทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรควัณโรค ตำบลท่าเสา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษากึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังทดลองระหว่างวันที่ 24-25 มิถุนายน 2567 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานและผู้สูงอายุจำนวน 33 คน ในตำบลท่าเสา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมความรอบรู้ด้านส่งเสริมป้องกันโรควัณโรค แบบสอบถามทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรควัณโรคค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.0 และ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.798 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัย: หลังเข้าโปรแกรมความรอบรู้ด้านส่งเสริมป้องกันโรควัณโรค กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติเกี่ยวกับโรควัณโรคเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (30.21±3.17 และ 26.55±3.52; p=0.001) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรควัณโรคเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (44.24±5.78 และ 38.49±8.10; p=0.001)
สรุปผล: การใช้โปรแกรมความรอบรู้ด้านส่งเสริมป้องกันโรควัณโรค โดยใช้กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ด้วยแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพส่งผลให้ทัศนคติเกี่ยวกับโรควัณโรคและพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลและป้องกันตนเองจากโรควัณโรคของกลุ่มตัวอย่างดีขึ้น จึงควรนำไปใช้ในกลุ่มเสี่ยงโรควัณโรค ทั้งในสถานพยาบาลหรือชุมชนแออัด เพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรควัณโรค
References
World Health Organization. Global Tuberculosis Report 2013 [Internet]. 2013 [cited 2024 May 17]. Available from: http://www.who.int/publications/i/item/9789241564656
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564.กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. ความฉลาดทางด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2554.
Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine. 2008;67(12):2072-8.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์; 2561.
Bandura A. Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall;1986.
วีระวุธ แก่นจันทร์ใบ, สุมัทนา กลางคาร, สรญา แก้วพิทูลย์. ผลของโปรแกรมการสร้างการรับรู้ต่อการป้องกันวัณโรคปอดของผู้สัมผัสร่วมบ้าน อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2561;25(1):79-90.
ช่อกมล รัตนสุรังค์. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก. 2564;8(2):51-64.
ประภัสสร กาวิโล. ผลของการให้ความรู้ตามโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันวัณโรคในผู้สูงอายุ อำเภอขุนตาล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น. 2566;4(4):71-86.
สุรี สร้อยทอง. ผลการใช้โปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://skko.moph.go.th/dward/document_file/oa/research_file_name/20230123091447_1889585082.pdf
รุ่งนภา อาระหัง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560. หน้า 161.
อุมาพร ครุฑศิริ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ โรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2564;1(3):24-34.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง