ประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • อรรณพ จงเจริญ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองปรือ จ.กาญจนบุรี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, อนามัยสิ่งแวดล้อม, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษากึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 30 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และแบบประเมินความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัย: หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 53.33) และส่วนใหญ่มีพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 73.33) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (19.20±2.48 และ 14.93± 3.15; p<0.001) และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อมหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (107.60±5.29 และ 91.00± 16.03; p<0.001)

สรุปผล: โปรแกรมความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมส่งผลให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้านมีความรู้และพฤติกรรมอยู่ในระดับเพิ่มขึ้น ควรนำโปรแกรมความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมไปใช้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อยกระดับความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสร้างพฤติกรรมการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม ให้สามารถดูแลให้คำแนะนำแก่ประชาชนในชุมชนและเป็นต้นแบบในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม

References

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือหลักสูตร อสม. เชี่ยวชาญการจัดการสุขภาพชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2562.

กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. แผนปฏิบัติการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ระยะที่ 4 พ.ศ. 2566-2570 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 18 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก:

https://env.anamai.moph.go.th/th/environmental-health-strategic-plan/download?id=113013&mid=31681&mkey=m_document&lang=th&did=32898

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2560.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: การวัดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์; 2560.

Osborn RH, Batterham RW, Elsworth GR, Hawkins M, Buchbinder R. The grounded psychometric development and initial validation of the health literacy questionnaire (HLQ). BMC Public Health. 2013; 13:1-17.

Marsili D, Comba P, De Castro P. Environmental health literacy within the Italian asbestos project: Experience in Italy and Latin American contexts. Commentary. Ann Ist Super Sanita. 2015;51(3):180-182.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2553.

เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, ภาวิณี แพงสุข, ธวัชชัย ยืนยาว, วัชรีวงค์ หวังมั่น. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563;29(3):419-429.

นัฐติกาญจน์ สามสี. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 มิ.ย. 2567] เข้าถึงได้จาก: https://updc.up.ac.th/handle/123456789/254

เทพสุดา จิวตระกูล. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมด้วยการเรียนรู้แบบกรณี ศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมการจัดสภาพแวดล้อมให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน [ปริญญานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2564. 194 หน้า.

ไมลา อิสสระสงคราม และทัศนีย์ บุญประคอง. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบการในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2561;6(3):29-31.

ณัฐชา สักกะวัน, พลอยไพลิน ทองแก้ว, กาญจนา ปินตาคำ, สุเวช พิมน้ำเย็น. ความรู้และพฤติกรรมตามหลักสุขาภิบาลอาหารของผู้ปรุงอาหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอร์ทเทิร์น. 2564;2(4):76-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-01