ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • วันดี โพธิ์พรหม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

คุณลักษณะส่วนบุคคล, ปัจจัยการบริหาร, คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคล และปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง 175 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามตำแหน่งในกองทุนและเป็นสัดส่วนกับขนาดของประชากร จากนั้นใช้การสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย: ปัจจัยการบริหารการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ในระดับมาก (Mean=4.35, SD=0.47) และการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก (Mean=4.33, SD=0.55) ตัวแปรอิสระ 3 ตัวแปร ที่ส่งผลเชิงบวกต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ได้แก่ ปัจจัยการบริหาร ด้านการบริหารจัดการ ด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ สามารถทำนายการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นได้ร้อยละ 65.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2=0.650, p<0.05) 

สรุปผล: คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ควรให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น โดยสนับสนุนให้เข้าร่วมประชุม อบรมวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญปัจจัยการบริหาร ด้านการบริหารจัดการ ด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

References

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 9 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.senate.go.th

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือ พื้นที่ (ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ พ.ศ.2561). กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์; 2564.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 9 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2022/10/

Schermerhorn R, Hunt G, Osborn N. Organization behavior. New York: John Wiley and Sons; 2003.

ทองหล่อ เดชไทย. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิชย์; 2549.

มารยาท โยทองยศ, ปราณี สวัสดิสรรพ์. การกำหนดขนาดของตัวอย่างเพื่อการวิจัย [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 18 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/bitstream/123456789/1580/3/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%822.pdf

Likert R. The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill; 1967.

วรวรรณ บุญมี. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

อเนก นนทะมาตย์. ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกัน สุขภาพระดับท้องถิ่น อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

นพพล สีหะวงษ์. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดเพชรบูรณ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

มนฤดี อุดมดัน, ประจักร บัวผัน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก. การดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2561:19(1):161-171.

รัตนากร พลโพธิ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น [การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

สมชาย แสนลัง. การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของคณะกรรมการบริหารกองทุน ในจังหวัดนครพนม [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2559.

ชลลดา ไคลมี. ศักยภาพการปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรีเวชสาร. 2562:7(20),5-29.

ศิริพร พันธุลี, วัฒนา วณิชชานนท์.การพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดแพร่. รายงานวิจัย. สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-19