เปรียบเทียบเจตคติ การปฏิบัติตนและค่าดัชนีมวลกายก่อนและหลังใช้โปรแกรมลดค่าดัชนีมวลกาย ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอบ่อพลอย
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น มีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อโรค metabolic syndrome 2.เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรค metabolic syndrome 3.เพื่อเปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกายหลังใช้โปรแกรมลดค่าดัชนีมวลกายของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอบ่อพลอย ผู้ที่มีภาวะค่าดัชนีมวลกายเกินค่ามาตรฐาน โดยการประเมินเจตคติที่มีต่อโรค metabolic syndrome พฤติกรรมการปฏิบัติตนและค่าดัชนีมวลกาย ก่อนและหลังการทดลองเป็นเวลา 3 เดือน การเลือกแบบเจาะจงจำนวน 35 คน กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานและมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ เกณฑ์คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างคือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่ได้กินยาลดน้ำหนักและไม่เคยเข้าร่วมโปรแกรมการลดน้ำหนักมาก่อน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป แบบวัดเจตคติ การปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรค metabolic syndrome และโปรแกรมลดค่าดัชนีมวลกาย ซึ่งประกอบด้วยการรับประทานอาหาร การปฏิบัติตน การออกกำลังกายโดยการวิ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามก่อนและหลังการใช้โปรแกรมลดค่าดัชนีมวลกาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติตน การออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีภาวะค่าดัชนีมวลกายเกินค่ามาตรฐาน (ภายหลัง 3 เดือน) ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่ กรกฎาคม – กันยายน 2563 แบบสอบถามมีค่าดัชนีความเชื่อมั่นของอัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.78 ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ (content validity) เท่ากับ 1 แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบทางสถิติอนุมาน ด้วยค่าที (Paired t-test)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิงคิดเป็นร้อยละ 60 อายุเฉลี่ยคิดเป็น 41.88 ระยะเวลาที่ค่าดัชนีมวลกายเกิดมาตรฐาน ≥23 กิโลกรัม/เมตร2 ≤ 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 77.14 ค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ยก่อนและหลังใช้โปรแกรมลดค่าดัชนีมวลกายคิดเป็น 27.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.46 และ 26.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.52 ตามลำดับ นอกจากนี้ค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติก่อนและหลังใช้โปรแกรมลดค่าดัชนีมวลกาย คิดเป็น 27.45 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.5 และ 28.65 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.34 ระดับเจตคติก่อนและหลังใช้โปรแกรมลดค่าดัชนีมวลกาย ร้อยละ 100 มีระดับเจตคติ ในทางบวกอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 26.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.84 และค่าเฉลี่ย 27.84 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.32 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติตนก่อนและหลังใช้โปรแกรมลดค่าดัชนีมวลกายคิดเป็น 21.00 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.24 และ 24.11 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.88 ตามลำดับ ระดับการปฏิบัติตนก่อนใช้โปรแกรมลดค่าดัชนีมวลกาย ร้อยละ 74.29 มีระดับการปฏิบัติตนอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 20.00 มีระดับการปฏิบัติตนอยู่ระดับสูง และร้อยละ 5.71 มีระดับการปฏิบัติตนอยู่ระดับต่ำ ค่าเฉลี่ย 20.79 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.66 ระดับการปฏิบัติตนหลังใช้โปรแกรมลดค่าดัชนีมวลกาย ร้อยละ 54.29 มีระดับการปฏิบัติตนอยู่ในระดับสูง 2.90 ตามลำดับ หลังใช้โปรแกรมลดค่าดัชนีมวลกาย เจตคติที่มีต่อโรค metabolic syndrome การปฏิบัติตนที่มีต่อโรค metabolic syndrome เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.00) และค่าดัชนีมวลกายหลังการใช้โปรแกรมลดค่าดัชนีมวลกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากการค้นพบดังกล่าว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงควรนำโปรแกรมลดค่าดัชนีมวลกายไปประยุกต์ใช้กับกลุ่มผู้ป่วยโรค metabolic syndrome หรือผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินค่ามาตรฐานรายอื่นต่อไป และแนะนำวิธีการออกกำลังกายหลากหลายตามกลุ่มอายุ
References
Saklayen M. G. (2018). The Global Epidemic of the Metabolic Syndrome. Current hypertension reports, 20(2), 12. https://doi.org/10.1007/s11906-018-0812-z
ปัญจพร ภาศิริ, ดร.ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2558). ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการออกกำลังกายของอาสาสมัครสาธารณสุข ในเขตอำเภอเมือง จังหวังหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยของแก่น, 3(1), 113-131.
Perez, E. A., González, M. P., Martínez-Espinosa, R. M., Vila, M., & Reig García-Galbis,
M. (2019). Practical Guidance for Interventions in Adults with Metabolic Syndrome: Diet and Exercise vs. Changes in Body Composition. International journal of environmental research and public health, 16(18), 3481.
คณะอนุกรรมการสถิติสาขาสุขภาพ, คณะทำงานสถิติสาขาสุขภาพ. (2557). แผนพัฒนาสถิติสาขาสุขภาพ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2557-2558.
Who EC. (2004) Appropriate body-mass index for Asian populations and its implications for policy and intervention strategies. The Lancet, 363(9403),157-1.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) (2557). สุขภาพคนไทย 2557.
Aganovic, I., & Dusek, T. (2007). Pathophysiology of Metabolic Syndrome. EJIFCC, 18(1), 3-6. (Retraction published EJIFCC. 2020 Sep 29;31(3):254)
ลักษณาวลัย มหาโชติ. (2557). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสมาชิกชมรมแอโรบิค อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. Veridian E Journal, 8(2), 2833-2843.
de Toro-Martín, J., Arsenault, B. J., Despres, J. P., & Vohl, M. C. (2017). Precision Nutrition: A Review of Personalized Nutritional Approaches for the Prevention and Management of Metabolic Syndrome. Nutrients, 9(8), 913.
WHO. (2004). Global strategy on diet, physical activity and health. Retrieved 2020 April 30. Available from: https://www.who.int/dietphysicalactivity/strategy/eb11344/
strategy_english_web.pdf
สมใจ วินิจกุล. (2553). ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการออกกำลังกายต่อภาวะอ้วนของประชาชนในเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วารสารรามาธิบดีพยาบาลสาร. 16(3), 327-340.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี. (2563). แผนงานสาธารณสุขจังหวัด นโยบายการบริหารสาธารณสุขปีงบ 2563 Smart Look สืบค้น 1 พฤษภาคม 2563, จาก https:// www.kanchanaburi.go.th
Bandura. (1986). ทฤษฎีความสามารถของตนเอง (Self Efficacy Theory) สืบคน 30 เมษายน
, จาก https://www.novabizz.com/NovaAce/Personality/Self_Efficacy.htm
Lawless M, Shriver LH, Wideman L, Dollar JM, Calkins SD, Keane SP, Shanahan L (2020) Associations between eating behaviors, diet quality and body mass index among adolescents. Eat Behav, 36:101339. https://doi.org/10.1016/j.eatbeh.2019.101339
นพ.ประพนธ์ ดิษฐ์รุ่งโรจน์. (2561) Heart rate zone โซนของคน (อยาก) ผอม สืบค้น 1 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.samitivejhospitals.com/th/heart-rate-zone-.
Myers, J., Kokkinos, P., & Nyelin, E. (2019). Physical Activity, Cardiorespiratory Fitness, and the Metabolic Syndrome. Nutrients, 11(7), 1652.
สมาลีเกียรติชนก.(2558). ผลของการใช้คู่มือปรับเปลี่ยนพฤตกรรมการกินอาหารลดพลังงาน สำหรับโปรแกรมลดน้ำหนักของนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. SDU Research Journal, 8(3),
บทความสุขภาพ. (2018). ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.ศิริราชฯ สืบค้น 1 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/854
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง