การวิจัยเพื่อศึกษาสถานการณ์ของศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลศูนย์ ปีงบประมาณ 2562

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐิณา รังสินธุ์ กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • เกวลิน ชื่นเจริญสุข กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

บทคัดย่อ

                 การวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และศักยภาพการให้บริการของศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลศูนย์ กลุ่มตัวอย่างคือศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลศูนย์ระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพโดยคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive random) จำนวน 27 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสำรวจสถานการณ์ของศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง ต.ค. 2561 – มิ.ย. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และค่าฐานนิยม

                 ผลการศึกษาสถานการณ์ พบว่า โครงสร้างของศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลศูนย์มีความหลากหลาย ส่วนใหญ่มีรองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์เป็นที่ปรึกษา (51.58%) และมีพยาบาลวิชาชำในสังกัดกลุ่มงานอุบัติเหตุฉุกเฉินเป็นหัวหน้า (88.89%) ส่วนใหญ่มีการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ (88.89%) แต่ไม่ชัดเจนและหลากหลายส่วนใหญ่มีการพัฒนาบุคลากร (87.27%) แต่ไม่เป็นระบบและไม่ครอบคลุมทักษะที่จำเป็นและส่วนใหญ่มีแนวทางปฏิบัติการรับส่งต่อ (85.19%) แต่ไม่ครบถ้วน

                 ผลการศึกษาศักยภาพการให้บริการของศูนย์รับส่งต่อ พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (56.45%) เมื่อวิเคราะห์ 8 องค์ประกอบ พบว่ามีคะแนนจากน้อยไปมากดังนี้ องค์ประกอบที่ 3 การบริหารและพัฒนาบุคลากร (44.10%) องค์ประกอบที่ 7 กิจกรรมหลัก (46.60%) องค์ประกอบที่ 4 โครงสร้างด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (51.80%) องค์ประกอบที่ 6 แนวทางหรือคู่มือปฏิบัติงาน (56.60%) องค์ประกอบที่ 8 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (56.00%) องค์ประกอบที่ 1 เจตจำนงและจุดมุ่งหมายของหน่วยงาน (65.64%) องค์ประกอบที่ 2 การบริการจัดการ (66.53%) และองค์ประกอบที่ 5 วัสดุครุภัณฑ์ มาตรฐานศูนย์รับส่งต่อ (74.00%)

                ข้อเสนอแนะ คือควรมีการกำหนดนโยบายการดำเนินงานและโครงสร้างของศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยให้ชัดเจน ควรพัฒนาความร่วมมือเครือข่ายนอกกระทรวงสาธารณสุขเพื่อการแบ่งปันทรัพยากร ควรสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลในการส่งต่อและควรมีแผนการพัฒนาบุคลากรของศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลทุกระดับเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยและได้รับการดูแลจากบุคลากรทางด้านสุขภาพที่มีคุณภาพ

References

สำนักบริหารการสาธารณสุข. แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พ.ศ. 2561-2565 กรงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรไทยแห่งประเทศไทย, 2559. หน้า 3, 21.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ด้านสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2; 2561 สืบค้นจาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล (Interfacility Transfer Operation Center). นนทบุรี: โรงพิมพ์ อัลทิเมท พริ้นติ้ง จำกัด, 2559. หน้า 17.

ยุพเยาว์ วิศพรรณ์, บัญชา พร้อมดิษฐ์, พรทิพย์ สุขอดิศัย. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์ คลินิก โรงพยาบาลพระปกเก้ลา; 2560. หน้า 194-205.

วรรณา กรีทอง. การพัฒนาระบบการบริหารการรับและการส่งต่อผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร; 2558 วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหาร การพยาบาล) กรงเทพฯ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2558.

ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. ระบบส่งต่อผู้ป่วย: กระบวนการสำคัญในการจัดการบริการสุขภาพ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2561 หน้า 109-121

วาสิทธ์ นงนุช, วิศิษฎ์ ทองคา, และวัชระ เอี่ยมรัศมีกุล. การพัฒนาคุณภาพระบบส่งต่อผู้ป่วย ฉุกเฉินระหว่าง สถานพยาบาลโรงพยาบาลเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด (2560) วารสารวิจัย สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น, 2560 หน้า 45-57

วิไลวรรณ กัณฑ์หา. รายงานการวิจัยเรื่อง คุณภาพบริการของศูนย์ส่งต่อโรงพยาบาล อุทุมพรพิสัย; 2555 (อินเตอร์เน็ต) เข้าถึงไดจาก: www.utp.go.th › km-hos › category › 29-research-2555

ปรานอม สงวนพันธุ์. กระบวนการรับ–ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล วารสารหัวหินสุขใจ ไกลกังวล, โรงพิมพ์อภิญญาการพิมพ์, 2561. หน้า 21-33.

ธษาศิระ วัฒนชัย, สมชาติ โตรักษา, กำธร ตันติวิทยาทันต์. การพัฒนางานส่งต่อผู้ป่วยศูนย์ การแพทย์-กาญจนาภิเษก; 2555 เข้าถึงได้จาก: www.gj.mahidol.ac.th/7_A_Development_of_Referral_Syst

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31