การเปรียบเทียบภาวะหืดกำเริบในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ระหว่างกลุ่มที่รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลและกลุ่มที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
บทคัดย่อ
ภาวะหืดกำเริบในเด็ก เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากหากมีอาการหืดกำเริบรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้ มีผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากค่ารักษาพยาบาลและการขาดงานรวมถึงด้านจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะเมื่อมีภาวะหืดกำเริบรุนแรงที่ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล จากข้อมูลผู้ป่วยเด็กโรคหืดของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา พบว่าผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหืดกำเริบมีอัตราการรับไว้รักษาในโรงพยาบาลสูงขึ้นกว่าเดิม 30 เท่า ในปี 2562 จึงได้ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบภาวะหืดกำเริบในผู้ป่วยเด็กระหว่างกลุ่มผู้ป่วยทั้งหมดที่ต้องรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลและเข้าเกณฑ์การวิจัย ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562 จำนวน 50 คน กับกลุ่มที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยทำการสุ่มเลือกในอัตราส่วน 1:1 เก็บข้อมูลทั่วไป ประวัติการรักษาโรคหืดและความรุนแรงของโรคในอดีต ปัจจัยกระตุ้นและความรุนแรง อาการและอาการแสดงของภาวะหืดกำเริบ และการรักษาภาวะหืดกำเริบที่ได้รับในแผนกฉุกเฉินหรือแผนกผู้ป่วยนอก โดยการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลัง ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเด็กภาวะหืดกำเริบที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล มีภาวะหืดกำเริบรุนแรงมากกว่า และการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะหืดกำเริบ แตกต่างจากกลุ่มที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกอย่างมีนัยสำคัญ สอดคล้องกับข้อมูลการระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจในประเทศไทย ปี 2562 ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส RSV และไข้หวัดใหญ่ การป้องกันโรคโดยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และการให้ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจแก่ประชาชน จะช่วยลดอัตราการป่วยจากภาวะหืดกำเริบในเด็กและลดอัตราการนอนโรงพยาบาลในที่สุด
References
Reddel HK, Taylor DR, Bateman ED, Boulet LP, Boushey HA, Busse WW, et al. An official American Thoracic Society/European Respiratory Society statement: Asthma control and exacerbations - Standardizing endpoints for clinical asthma trials and clinical practice. Am J Respir Crit Care Med. 2009;180(1):59–99.
GLOBAL STRATEGY FOR ASTHMA MANAGEMENT AND PREVENTION Updated 2020 [Internet]. 2020. Available from: www.ginasthma.org
National Center for Environmental Health. Data, statistic, and surveillance [Internet]. 2017 [cited 2018 May 15]. Available from: https://www.cdc.gov/asthma/archivedata/2017/2017_archived_national_data.html
Nurmagambetov T, Kuwahara R, Garbe P. The economic burden of asthma in the United States, 2008-2013. Ann Am Thorac Soc. 2018 Mar 1;15(3):348–56.
Puranitee P, Kamchaisatian W, Manuyakorn W, Vilaiyuk S, Laecha O, Pattanaprateep O, et al. Direct medical cost of thai pediatric asthma management: A pilot study. Asian Pacific J Allergy Immunol. 2015;33(4):296–300.
หฤทัย กมลาภรณ์. Smart Care for Pediatric Uncontrolled Asthma. ใน: ดุสิต สถาวร, ณัฐชัย อนันตสิทธิ์, เฉลิมไทย เอกศิลป์. (บรรณาธการ). 4.0 Smart Care for Critically Ill Children. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก; 2562. หน้า 189–99.
Puranik S, Forno E, BushA, Celedón JC. Predicting severeasthma exacerbations in children. Am J Respir Crit Care Med. 2017;195(7):854–9.
Orellano P, Quaranta N, Reynoso J, Balbi B, Vasquez J. Effect of outdoor air pollution on asthma exacerbations in children and adults: Systematic review and multilevel meta-analysis. PLoS One. 2017;12(3):1–15.
Murray CS, Poletti G, Kebadze T, Morris J, Woodcock A, Johnston SL, et al. Study of modifiable risk factors for asthma exacerbations: Virus infection and allergen exposure increase the risk of asthma hospital admissions in children. Thorax. 2006;61(5):376–82.
Ducharme FM, Zemek R, Chauhan BF, Gravel J, Chalut D, Poonai N, et al. Factors associated with failure of emergency department management in children with acute moderate or severe asthma: a prospective, multicentre, cohort study. Lancet Respir Med [Internet]. 2016;4(12):990–8. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/S2213-2600 (16)30160-6
Bekmezian A, Fee C, Weber E. Clinical pathway improves pediatrics asthma management in the emergency department and reduces admissions. J asthma. 2015;52(8):806-14.
ธาริณี สหจารุพัฒน์. ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ป่วยเด็ก โรคหืดกำเริบเฉียบพลันในปี พ.ศ. 2557-2558. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2558;29:459-465
หน่วยเวชสถิติ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
Maffey AF, Barrero PR, Venialgo C, Fernández F, Fuse VA, Saia M, et al. Viruses and atypical bacteria associated with asthma exacerbations in hospitalized children. Pediatr Pulmonol. 2010;45(6):619–25.
Merckx J, Ducharme FM, Martineau C, et al. Respiratory viruses and treatment failure in children with asthma exacerbation. Pediatrics 2018;142(1):e20174105
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ จากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) Available from: https://dep.go.th/images/uploads/files/15989.pdf
กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. สำนักโรคติดต่อทั่วไป: สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ รายสัปดาห์ที่ 39 ปี 2562. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/973120191007031852.pdf
พนิดา ศรีสันต์. RSV bronchiolitis: what you need to know?. ใน: สนิตรา ศิริธางกุล, กนกพร อุดมอิทธิพงศ์, ประวิทย์ เจตนชัย. (บรรณาธการ) Sharpen your practice in pediatric respiratory disease พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคระบบหายใจและ เวชบำบัดวิกฤตในเด็ก; 2563. หน้า 105-13.
Gaspar AP, Morais-Almeida MA, Pires GC, Prates SR, Câmara RA, Godinho NM, Arêde CS, Rosado-Pinto JE. Risk factors for asthma admissions in children. Allergy Asthma Proc. 2002 Sep-Oct; 23(5):295-301. PMID: 12476538.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง