ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกต่อการรับรู้ของสตรีและการตรวจติดตามในสตรีที่มีเซลล์เยื่อบุปากมดลูกผิดปกติ แผนกนรีเวช โรงพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ โสภณพงษ์ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
  • นฤมล สินสุพรรณ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น
  • กุหลาบ ปุริสาร กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกต่อการรับรู้ของสตรีและการตรวจติดตามในสตรีที่มีเซลล์เยื่อบุปากมดลูกผิดปกติ โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคของโรเจอร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีที่มีผลการตรวจเซลล์เยื่อบุปากมดลูกผิดปกติ จากการมารับการตรวจส่องกล้องปากมดลูกที่แผนกนรีเวช โรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 66 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้แบ่งกลุ่ม โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่มารับใบนัดส่องกล้องปากมดลูก และครั้งที่ 2 วันนัดส่องกล้องปากมดลูก ในระกว่างรอมาตรวจส่องกล้องมีการโทรศัพท์ติดตามและสอบถามปัญหา รวมทั้งกระตุ้นให้มาตรวจตามนัด เก็บข้อมูลช่วงเดือนกันยายน ถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 เก็บข้อมูลก่อนและหลังโปรแกรมด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ, จำนวน, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, Paired t-test, Independent t-test และ Z-test

                ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกต่อการรับรู้ของสตรีและการตรวจติดตามในสตรีที่มีเซลล์เยื่อบุปากมดลูกผิดปกติ ของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งปากมดลูก การรับรู้ประโยชน์ของการมาตรวจส่องกล้องปากมดลูก และการรับรู้ต่ออุปสรรคในการมารับการตรวจส่องกล้องปากมดลูกสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมาเข้ารับการตรวจส่องกล้องปากมดลูกตามนัดมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ

                ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกทำให้สตรีที่มีผลการตรวจเซลล์เยื่อบุปากมดลูกผิดปกติมีการรับรู้การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและการมารับการตรวจส้องกล้องปากมดลูกตามนัดสูงขึ้น ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกไปประยุกต์ ใช้ในสตรีที่มีผลการตรวจเซลล์เยื่อบุปากมดลูกผิดปกติเพื่อส่งเสริมการมารับบริการตรวจส่องกล้องปากมดลูกตามนัดต่อไป

References

ไพฑูรย์ อบเชย. อุบัติการณ์มะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย. (ออนไลน): สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; มปป]. ค้นจาก: https:// stri.cmu.ac.th/article_detail.php?id=17.(7 มถนายน 2563)

ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ (health belief model). (2559). (ออนไลน์).ค้นจาก: http://myblogcomnurse.blogspot.com/ (12 มกราคม 2563).

อรุณ จิรวัฒนกุล. (2547). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ/อรุณ จิรวัฒน์กุล.มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

มะลิวัลย์ บางนิ่มน้อย, กวี ไชศิริ, ชาลินี ปลัดพรม. (2562). ผลของโปรแกรมสุขศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของสตรีกลุ่มเสี่ยง.วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยแห่งสุวรรณภูมิ, 5(1),406 -415.

บุญใจ ศรีสถตินรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรงเทพฯ, พิมพ์ครั้งที่ 5. ยูแอนด์ไออินเตอร์ มีเดีย จำกัด.

ปราณี มหาญพงษ์ และกรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. (2561). การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(1), 9-15.

รุ่งอรุณ กามล. (2559). ผลการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพรวมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี ตำบลกุดใส้จ่อ อำเภอกันทรวิชัยจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญเรือง วิทมาสิงห์ และช่อผกา จั่นประดับ. (2561). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 3(2), 73-88.

นภัสวรรณโอภาส. (2561). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อการรับรู้การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและการมารับการตรวจส่องกล้องปากมดลูกในสตรีที่มีผลการตรวจเซลล์เยื่อบุปากมดลูกผิดปกติ. วารสารพยาบาลทหารบก 2562, 19 (ฉบับพิเศษ); 339-347.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30