ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัดต้อกระจก เพื่อลดความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดต้อกระจก: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบางบัวทอง จังหวดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พนิดา อยู่ชัชวาล งานการพยาบาลผู้ป่วยใน กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลบางบัวทอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัดต้อกระจกเพื่อลดความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดต้อกระจกกรณีศึกษา โรงพยาบาลบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่นัดรับการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม ในระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน ณ โรงพยาบาลบางบัวทอง จำนวน 40 ราย โดยแบ่งกลุ่มทดลอง 20 ราย และเป็นกลุ่มควบคุม 20 ราย ระยะเวลาในการทำวิจัยระหว่าง 1 มกราคม 2563 – 30 เมษายน 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1.โปรแกรมการส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัดต้อกระจกเพื่อลดความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด และ 2.แบบสอบถามความรู้และการปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัด และแบบสอบถามความวิตกกังวล เครื่องมือดังกล่าวได้ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และหาความเที่ยงของแบบสอบถามด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cromvach’s alpha Coefficient) ได้เท่ากับ 0.87 ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ Unpaired t-test และ Paired t-test

          ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคต่อกระจกที่นัดรับการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม ที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัดต้อกระจก เพื่อลดความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด มีคะแนนเฉลี่ยความรู้และการปฏิบัติตัวสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.00) และมีคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ (p-value=0.00) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัดต้อกระจกเพื่อลดความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดต้อกระจก สามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่นับรับการผ่าตัดเปลี่ยนเล่นแก้วตาเทียม มีความรู้และการปฏิบัติตัวดีขึ้น และลดความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดได้ดีขึ้น

References

อมราภรณ์ ลาภชูรัต. ผลการใชhโปรแกรมส่งเสริมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2561;32(3):1099-112.

วารุณี กุลราช. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal ปีที่ 9. ฉบับที่ 1; มกราคม - มิถุนายน 2560: 1-12.

Burns, N. and Grove, S.K. The Practice of Nursing Research: Conduct, Critique and Utilization. 5th Edition, Elsevier Saunders, Missouri: 2005

ผุสดี บรมธนรัตน์. ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อการลดความวิตกกังวลและการลดภาวะแทรกซ้อน ขณะผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงโรงพยาบาล สุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2559;30:129-137

กนกพร อรยิภูวงศ์. ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและใหความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2562;3:17-30

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30