โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยหลักอริยสัจ 4 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
บทคัดย่อ
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยหลักอริยสัจ 4 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 36 คน เท่ากัน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นโดยประยุกต์หลักอริยสัจ 4 และทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง ระยะเวลา 10 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรมการสร้างเสริมความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง และความคาดหวังในผลลัพธ์ ด้วยวิธีการบรรยายประกอบสไลด์ การประสบความสำเร็จด้วยตนเอง การเรียนรู้จากตัวแบบ การใช้คำพูดชักจูง การกระตุ้นเตือนการสาธิตและฝึกปฏิบัติการเลือกอาหารที่เหมาะสม การวิเคราะห์และอภิปรายปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยหลักอริยสัจ และการติดตามเยี่ยมบ้าน ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการบริการตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired samples t-test และ Independent t-test
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสม การรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการบริโภคอาหารที่เหมาะสม พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม เพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แบะมีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้าลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย โปรแกรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ในการจัดกิจกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือกให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
References
เจาะลึกสุขภาพ. สถานการณ์โรคเบาหวาน. [Internet]. [cited 2020 January 20]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18054
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรงเทพฯ: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด.
เจาะลึกสุขภาพ. ความชุกโรคเบาหวานในกลุ่มประเทศอาเซียน [Internet]. [cited 2020 May 10]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18014
โรคแทรกซอนเรอรงในผูปวยเบาหวาน. [Internet]. [cited 2020 January 20]. Available from: https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/diabetes/admin/knowledges_files/4_44_1.pdf)
Bandura A. (1977). Social Learning Theory, New Jersy: Prentice-Hall.
Lemeshow S, W D, Jr H, Klar J, Lwanga SK. (1990). Adequacy of sample size in health studied. New York: Wiley& Sons.
จันทิมา เนียมโภคะ และคณะ. (2552) โปรแกรมการสรางเสรมสขภาพสาหรบผปวย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคมระดับน้ำตาลในเลือด. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2552,2;149-161.
วรพล แวงนอก, กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ, ณรงค์ชัย หนูสอน และ นงนุช โอบะ. (2553). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานตามแนวอริยสัจสี่ โดย ศูนย์สุขภาพชุมชน วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 4(1), 62-72.
ศุภัชฌา สุดใจ, มณีรัตน์ ธระวิวัฒน์, สุปรียา ตันสกุล และนิรัตน์ อิมามี (2559) โปรแกรมส่งเสริมการบริโภคอาหารทประยุกต์แบบจำลองข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรม ในผู่ป่วยเบาหวาน จังหวัดนนทบุรี. วารสารสุขศึกษา. 39(132); 35-50.
อรวรรณ มุงวงษา, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, สุปรียา ตันสกุล และนิรัตน์ อิมามี. (2560). โปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหารเพื่อควบคมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดนครปฐม. วารสารกรมการแพทย์. 42(5), 62-70.
สาริศา โตะหะ. ธราดล เก่งการพานิช. มณฑา เก่งการพานิช และศรัณญา เบญจกุล. (2563).
ศึกษาผลของโปรแกรมการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุชาวไทยมุสลิม จังหวัดนราธิวาส. วารสารสุขศึกษา. 43(1);113-129.
อุมาลี ธรศรี, พัชราณี ภวัตกุล, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ และกานดาวสี มาลีวงษ์. (2561). โปรแกรมส่งเสริมโภชนาการ: ลดหวาน มัน เค็ม ประยุกต์การกำกับตนเองและแรงสนับสนุนจาก ครอบครัวในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 48(3),284-295.
สุกาญจน์ อยู่คง, มลินี สมภพเจริญ, ธราดล เก่งการพานิช และทัศนีย์ รวิวรกุล. (2558). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. บทความวิจัยนำเสนอในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 17 วันที่ 14-16 พฤษภาคม 2558. โรงแรมจอมเทียน ปาล์มบีช โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดชลบุรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง