การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • สมโภช บุญวัน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

บทคัดย่อ

          ความสุขในการทำงาน ของบุคลากร ส่งผลโดยตรงกับผลสัมฤทธิ์งานขององค์กร การได้ทราบปัจจัยแห่งความสุขในการทำงานและมีเครื่องมือวัดความสุขที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ในจังหวัดกาญจนบุรีและพัฒนาแบบจำลองของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน เป็นการวิจัยแบบสำรวจเชิงปริมาณ ประชากร คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 919 คน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 270 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน แล้วเลือกตัวแทนด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการส่งแบบสอบถามออนไลน์จาก Google Form จำนวน 270 ชุด ให้กับกลุ่มตัวอย่างแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ เชิงยืนยัน และแบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน แบ่งเป็น 6 องค์ประกอบ เรียกเป็นตัวแปรใหม่ชื่อว่า “ตัวแปรสุขสม (SUGSOM variable)” ซึ่งพัฒนามาจากปัจจัยคุณลักษณะงานและสภาพแวดล้อมการทำงานแล้วนำมาพัฒนาแบบจำลองสุขสม (SUGSOM Model) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือวัดความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ในจังหวัดกาญจนบุรี โดยพบว่าตัวแปรสุขสม ส่งผลต่อความสุขในการทำงานอย่างมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของบุคลากรสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีค่าดัชนีทุกเกณฑ์ที่ผ่านการยอมรับทั้งหมด จึงสามารถนำแบบจำลองสุขสมมาเป็นเครื่องมือวัดความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนบริหารจัดการความสุขของบุคลากรสาธารณสุข ระดับปฐมภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

References

คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม. HAPPINOMETER นวัตกรรมของการวัดคุณภาพชีวิตและความสุขทางด้านสังคมศาสตร์. สถาบันวิจัยประชากร และสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าถึงได้จาก: https://wwwubuacth/web/files_up/16f2015051111035491pdf. 2555.

Hackman J R, Oldham GR. “Motivation through design of work: Test of a theory”, Organisational Behaviour and Human Performance, . Vol 16, pp 250-279 1976.

Chadi A, Hetschko C. The magic of the new: How job changes affect job satisfaction. Journal of Economics & Management Strategy. 2018;27(1):23-39.

สมเดจพระพทธโฆษาจารย (ป.อ.ปยตโต). งานกไดผล คนกเปนสข. Forth Printed Bangkok: Amarin Dhamma Priting. 2560.

สำนักสถิติพยากรณ์สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย ปี 2558. http://servicensogoth/nso/nsopublish/themes/files/mental-healthm_FullReport_58pdf. 2559.

Hair JF, Anderson, R.E., Tatham, R.L., & Black, W.C. Multivariate Data Analysis (5th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall. 1998.

Marsh HW, Hocevar D. Application of confirmatory factor analysis to the study of self-concept: First and higher order factor models and their invariance across groups. Psychological Bulletin,.1985; 97, 562–582.

Browne MW, Cudeck R. Alternative ways of assessing model fit. In Bollen, K.A. & Long, J.S. [Eds.] Testing structural equation models. Newbury Park, CA: . 1993;Sage, 136–162.

Salas-Vallina A, Simone C, Fernandez-Guerrero R. The human side of leadership: Inspirational leadership effects on follower characteristics and happiness at work (HAW). Journal of Business Research. 2020;107:162-71.

Kawalya C, Munene JC, Ntayi J, Kagaari J, Mafabi S, Kasekende F. Psychological capital and happiness at the workplace: The mediating role of flow experience. Cogent Business & Management. 2019;6(1).

Haar J, Schmitz A, Di Fabio A, Daellenbach U. The Role of Relationships at Work and Happiness: A Moderated Moderated Mediation Study of New Zealand Managers. Sustainability. 2019;11(12).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30