ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการภายในองค์กรพยาบาลต่อการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • พภัสสรณ์ ไข่มุก กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลบ่อพลอย อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการภายในองค์กร, การปฏิบัติการพยาบาล, โรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการภายในองค์กรพยาบาลตามแนวคิด 7S ของแมคคินซีย์ต่อการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ด้านพยาบาลวิชาชีพและด้านผู้ป่วย ก่อนและหลังใช้รูปแบบฯ

วิธีการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานกับผู้ป่วยโดยตรงจำนวน 35 คน และเวชระเบียนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันที่มารับบริการโรงพยาบาลบ่อพลอย ก่อนและหลังทดลองกลุ่มละ 30 ฉบับ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที

ผลการวิจัย: หลังการใช้รูปแบบฯ คะแนนเฉลี่ยความรู้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (10.33±3.06 และ 6.83±4.14, p=0.032) ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลัน ระยะเวลาในการเข้าถึงบริการหลังเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมองใช้เวลาเฉลี่ยลดลง (3.34±3.67 ชั่วโมง และ 5.02±6.01 ชั่วโมง, p=0.003) และระยะเวลาในการเข้าระบบช่องทางด่วนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่รอดชีวิตใช้เวลาเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (23.32±8.76 นาทีและ 78.87±14.00 นาที, p<0.001)

สรุปผล: รูปแบบการจัดการภายในองค์กรพยาบาลต่อการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันที่พัฒนาขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันได้อย่างมีประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาผลลัพธ์ที่ต้องการทั้งในด้านคุณภาพการดูแลผู้ป่วยและการบริหารเวลา

References

กองโรคไม่ติดต่อ. กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรครณรงค์วันโรคหลอดเลือดสมองโลก หรือวันอัมพาตโลก 2565 เน้นสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองให้กับประชาชน. [อินเทอร์เน็ต].2565 [เข้าถึงเมื่อ 9 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=29284

สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย. 2566;39(2):39-46.

ข้อมูลสถิติ. รายงานประจำปี 2565-2566. โรงพยาบาลบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. 2566.

Nejad TA, Behbodi MR, Ravanfar MM. Analyzing organizational structure based on 7s model of McKinsey. Int J Acad Res Bus Soc Sci. 2015;5(5):43-55.

สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการพยาบาลทั่วไปสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา; 2558.

CohenL, Manion L, Morrison K. Research methods in education. 7th edition. New York: Routledge Likert R; 1967.

Cochran, W.G. Sampling Techniques. New York: John Wiley; 1953.

บัตซิ่ง เอ็น. กระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน. วารสารสภาการพยาบาลและ การผดุงครรภ์แห่งประเทศไทย. 2562;34(3):15-29.

สมหวัง โรจนะ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกจากความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลหัวใจและทรวงอก. 2063;31(2):205-21.

ยุวดี ผงสา.ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2063;2(2):139-54.

สายนาท พลไชโย, อมรวรรณ มาแสง, บังอร เกิดแก้ว. การพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในบริบทของโรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม. 2561;26-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25