การพัฒนาระบบเครือข่ายห้องคลอดเดียวกันทั้งจังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
ระบบเครือข่ายห้องคลอดเดียวกันทั้งจังหวัด, การสื่อสารทางแอปพลิเคชันไลน์, อัตรามารดาเสียชีวิตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายห้องคลอดเดียวกันทั้งจังหวัด (One Province One Labor Room: OPOL) โดยการสื่อสารทางแอปพลิเคชันไลน์ (Tele-LINE Consulting System: TLCS) ในจังหวัดกาญจนบุรี
วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยและพัฒนาในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาลในจังหวัด กาญจนบุรี ปีงบประมาณ 2564-2567 รวมถึงสูตินรีแพทย์และแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยทางสูตินรีเวชของโรงพยาบาล ในจังหวัดกาญจนบุรีผ่านระบบ OPOL TLCS เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ระบบ OPOL TLCS ที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ กำหนดเพิ่มเติมให้มีสูตินรีแพทย์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนารับผิดชอบให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง มีแพทย์รายงานผู้ป่วยสูตินรีเวชทุกรายที่รับเป็นผู้ป่วยในทุกโรงพยาบาลทุกวัน และให้มีการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ตั้งแต่แรกรับทุกราย 2) แบบบันทึกการส่งต่อและข้อมูลหญิงตั้งครรภ์มาคลอดที่โรงพยาบาลพลหลพยุหเสนา 3) แบบรายงานการเสียชีวิตของมารดา และบันทึกการประชุมคณะกรรมการงานอนามัยแม่และเด็กระดับจังหวัดกาญจนบุรี 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของสูตินรีแพทย์และแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยสูตินรีเวชต่อการใช้ระบบ OPOL TLCS วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย: ก่อนใช้ระบบ OPOL TLCS (ปีงบประมาณ 2564) มีมารดาเสียชีวิตจากสาเหตุโดยตรง 2 ราย และ การรับส่งต่อผู้ป่วยสูติกรรม 266 ราย หลังใช้ระบบ OPOL TLCS พบว่ามีมารดาเสียชีวิตจากสาเหตุโดยตรง ลดลงเป็น 1, 1 และ 0 ราย และการรับส่งต่อผู้ป่วยสูติกรรมลดลงเป็น 262, 228 และ 206 ราย ในปีงบประมาณ 2565-2567 ตามลำดับ แพทย์ผู้ใช้ระบบ OPOL TLCS 69 คน มีความพึงพอใจระดับมากถึงมากที่สุด (ระดับ 4-5 คะแนน) ร้อยละ 98.11 คะแนนเฉลี่ย 4.19 คะแนน (SD=0.34)
สรุปผล: ระบบ OPOL TLCS ที่ได้มีการพัฒนาร่วมกันและกำกับดูแลโดยแพทย์โรงพยาบาลชุมชนและสูตินรีแพทย์ที่ชัดเจน สามารถลดการเสียชีวิตของมารดาจากสาเหตุโดยตรงได้แม้ว่าอัตราการเสียชีวิตของมารดายังไม่ลดลง การพัฒนาระบบปรึกษาและส่งต่อควรมีการติดตามต่อเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาต่อไป
References
World Health Organization. Trends in Maternal mortality 2000 to 2020 estimates by WHO, UNICEF, UNFPA, World Bank Group and UNDESA/population division. Geneva: World Health Organization; 2023.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.รายงานสถานการณ์การเสียชีวิตของมารดาในประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 23 เม.ย. 2568]. เข้าถึงได้จาก: https://hp.anamai.moph.go.th
กรมอนามัย.รายงานสถานการณ์เฝ้าระวังการเสียชีวิตของมารดาในเขตสุขภาพที่ 1–12, ปี 2565–2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 23 เม.ย. 2568]. เข้าถึงได้จาก: https://hp.anamai.moph.go.th/th/maternalmortalityratio/downloadid=103167&mid=30954&mkey=m_document&lang=th&did=30671
โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. แผนยุทธศาสตร์โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา พ.ศ. 2558–2567: Service Plan Roadmap ที่ 6 แม่และเด็ก. นนทบุรี: โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา; 2558.
Borg WR, Gall MD. Educational research: an introduction. 4th ed. New York: Longman; 1983.
กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือเวชปฏิบัติการคลอดมาตรฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2560.
Calvello EJ, Skog AP, Tenner AG, Wallis LA. Applying the lessons of maternal mortality reduction to global emergency health. Bull World Health Organ 2015,93: 417-23.
จารุวรรณเย็นเสมอ. การพัฒนาระบบบริการเครือข่ายห้องคลอดเดียวกันเพื่อหลีกเลี่ยงการตายของมารดาจากสาเหตุที่ป้องกันได้จังหวัดสุรินทร์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(36):143–59.
Thangkratok P. Patient referral systems: key processes of health services management. J Med Health sci 2018; 25(3): 109-21.
อังคาร ตรีนิติ. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพมารดาตามแนวคิด One Province One Labor Room เพื่อลดการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนของมารดาจากสาเหตุทางตรงและทางอ้อม. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2567;41(4):396-405.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง