ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST- elevation myocardial infarction (STEMI) ในจังหวัดกาญจนบุรีที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดในแผนกอุบัติเหตุแลฉุกเฉิน โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • วราพร นาคเสนสิน แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) แบบ Retrospective Studyนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด (STEMI) ในจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่เดือน 1 ตุลาคม  2562จนถึง เดือน30 กันยายน พ.ศ. 2565ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ประชากรเข้าถึง (Accessible population) เป็นเวชระเบียนของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด (STEMI) ทั้งหมด ที่ได้รับการ Activate STEMI code ที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบบันทึกประกอบด้วย แบบรวบรวมข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง แบบบันทึกผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วย STEMIวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่การแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการศึกษา 1. พบว่าลักษณะของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่าผู้เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI จำนวน 695 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 72.1 มีอายุระหว่าง 41-60 ปีร้อยละ 44.6 อายุเฉลี่ย 61.19, SD =1.29 อยู่ในอำเภอเมืองมากที่สุด ร้อยละ 23.6 รองลงมา อำเภอท่าม่วง ร้อยละ 13.2 มาโรงพยาบาลโดยการ Refer มากที่สุดร้อยละ 77.3 รองลงมา ผู้ป่วยมาเอง ร้อยละ 18.7 2.ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI พบว่า Door to EKG ภายในเวลา 10 นาที  ร้อยละ 91.2 เวลาน้อยที่สุดในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ คือ 1 นาที เวลามากที่สุด คือ 102 นาที เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 4.18นาที  SD = 8.69อัตราผู้ป่วยโรค STEMI ได้รับการเปิดหลอดเลือดด้วยยาละลายลิ่มเลือด  82.3 %  Door to consult MED  ภายในเวลา 30 นาทีร้อยละ 93.5 เวลาน้อยที่สุดในการปรึกษาแพทย์อายุรกรรม  คือ 3นาที เวลามากที่สุด คือ 73  นาที เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 14.23นาที  SD =10.86 Door to Needle  ภายในเวลา 30 นาที  ร้อยละ 63.4  เวลาน้อยที่สุดในการให้ยา คือ 4 นาที เวลามากที่สุด คือ 165 นาที เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 35.97 นาที  SD = 27.12 สาเหตุที่ให้ยาละลายลิ่มเลือดช้าได้แก่ ทำ EKG  2 ครั้ง ร้อยละ 3.1  Arrest ร้อยละ 3.0  เกิดภาวะแทรกซ้อนการจากการให้ยาละลายลิ่มเลือดได้แก่  BP Drop ร้อยละ 5.3  รองลงมาผู้ป่วย Arrest ร้อยละ 1.4ผู้ป่วยโรค STEMI ที่ได้รับการเปิดหลอดเลือดระยะเวลาตั้งแต่มาถึงโรงพยาบาลจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด ( onset  time) ร้อยละ 82.3จำนวนวันนอนโรงพยาบาล=1 วันร้อยละ 79.7  จำหน่ายด้วยการ Refer มากที่สุดร้อยละ  85.5อัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 5.5

          จากผลการศึกษา จะเห็นได้ว่า ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ในจังหวัดกาญจนบุรีได้ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดจากการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย STEMI ในระยะฉุกเฉินมีการให้ยาละลายลิ่มเลือดที่ห้องฉุกเฉิน ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่รวดเร็วขึ้น

References

World health organization. (2020). World health statistics 2020: Monitoring health for the SDGs, sustainable development goals. Geneva: World health.

โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. (2565). รายงานตัวชี้วัดการลงรหัสโรคและรหัสหัตถการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจในฐานข้อมูลโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนาปี 2562-2565 [data base]. กาญจนบุรี: สรุปรายงานฝ่ายแผนงานของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา.

ทวีศิลป์วิษณุโยธิน, พรทิพย์วชิรดิลก, ธีระศิริสมุด, สุรเดชดวงทิพย์สิริกุล, ประชุมพรกวีกรณ์, สุเพียรโภคทรัพย์และคณะ. (2564). แนวทางจัดระบบบริการสุขภาพสูงอายุสาหรับโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI และกระดูกสะโพกหัก (hipfracture) เขตสุขภาพที่ 10. กรุงเทพมหานคร: อัลทิเมทพริ้นติ้ง.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันพ.ศ. 2563. สมุทรปราการ: ห้างหุ้นส่วนจากัดเนคสเตปดีไซน์.

ศุภชัย ไตรอุโฆษ. (2556). การจัดการและการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. เอกสารอัดสำเนา

เกรียงไกรเฮงรัศมีและกนกพรแจ่มสมบูรณ์. (2556). มาตรฐานการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. กรุงเทพมหานคร: สุขุมวิทการพิมพ์.

เรณูวิรุณพันธุ์. (2562). ประสิทธิผลของการใช้ Phahol Model STEMI fast track: The effectiveness of Using Phahol model STEMI fast track.วารสารกาญจนบุรี,18(4), 62-74.

เอนก กนกศิลป์. (2562). THAI ACS REGISTRY (Service Plan Portal สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 จาก: https://www.ccit.go.th/saveheart/document/new/การบริหารข้อมูล_ACS%202019.pdf

โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. (2565). งานสถิติข้อมูลงานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนากาญจนบุรี.

จิตรา เลิศสุบิน, กิตติยา เตชะไพโรจน์, นารี แซ่อึ้ง. (2552). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี; 17(1):119-127.

วันเพ็ญ แสงเพ็ชรส่อง, ทัชวรรณ ผาสุข, และธนิตา ฉิมวงษ์. (2555). การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันระยะวิกฤติในโรงพยาบาลระยอง.วารสารกองการพยาบาล, 39(1), 32-45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31